02:30

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าวสัปปะรด สวยสดหาดเขาถ่ำ งามล้ำน้ำใจ



ข้อมูลทั่วไป จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ประจวบคีรีขันธ์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง ตอนล่าง ซึ่งมีเขตแดนติดต่อกับ ภาคใต้ และมีแหล่งท่องเที่ยว ที่น่าสนใจหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นชายหาดต่างๆ หมู่เกาะหรือป่าเขาลำเนาไพร เป็นสถานที่ตากอากาศเก่าแก่ ตั้งแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ประจวบคีรีขันธ์เคยเป็นที่ตั้งของเมืองนารัง สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ตั้งเมืองขึ้นใหม่ขึ้น ที่ปากคลองอีรม ชื่อว่า เมืองบางนางรม และในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้รวบรวมเมืองบางนางรม เมืองกุย และเมืองคลองวาฬเป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งแปลว่าเมืองที่มีภูเขาเป็นหมู่ๆ โดยมีที่ว่าการเมืองอยู่ที่เมืองกุย จนกระทั่ง พ.ศ. 2441 จึงย้ายที่ว่าการเมืองมาอยู่ที่อ่าวเกาะหลัก หรืออ่าวประจวบ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบัน

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีพื้นที่ประมาณ 6,367.620 ตารางกิโลเมตร ลักษณะพื้นที่แคบเป็นคาบสมุทรยาวลงไปทางใต้ โดยมีส่วนที่แคบที่สุดจากเขตแดนไทย - พม่า ด้านตะวันตก จนถึงฝั่งทะเลด้านตะวันออก เป็นระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร อยู่บริเวณด่านสิงขร ท้องที่ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง และมีความยาว จากเหนือจรดใต้ เป็นระยะทางประมาณ 212 กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คือ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี อำเภอกุยบุรี อำเภอทับสะแก อำเภอบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย และอำเภอสามร้อยยอด

* หมายเหตุ : การจัดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์อยู่ในภาคกลาง เป็นการแบ่งตามเขตการปกครองกระทรวงมหาดไทย หากเป็นการแบ่งภาคทางภูมิศาสตร์ ตามที่กำหนดไว้ ในอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทยของราชบัณฑิตสถาน ประจวบคีรีขันธ์จัดอยู่ในภาคตะวันตก

ประวัติความเป็นมา :

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาไม่ค่อยแน่ชัด สืบเนื่องจากเป็นพื้นที่แคบ ยามมีศึกสงคราม ยากแก่การป้องกัน จึงต้องปล่อยให้เป็นเมืองร้าง หรือเป็นเมืองที่ขึ้นตรงต่อจังหวัดเพชรบุรี โดยเป็นเพียงเมืองชั้นจัตวาเล็กๆ ที่รวมกันอยู่ภายใต้การปกครอง ของจังหวัดเพชรบุรี พอถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงได้โปรดเกล้าตั้งเมือง เมืองบางนางรม ที่ปากคลองบางนางรม ได้รวมเมืองบางนางรม เมืองกุย และเมืองคลองวาฬ แต่สภาพที่ดินไม่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก จึงได้มีการย้ายเมือง ไปยังเมืองกุยบุรี ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และการตั้งบ้านเรือน หนาแน่นกว่า แต่ยังเรียก เมืองบางนางรม ตามเดิม จวบจนถึงรัฐสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น เมืองประจวบคีรีขันธ์ เพื่อให้ชื่อคล้องกับชื่อของเมืองเกาะกง ที่ชื่อว่า "จังหวัดประจันตคีรีเขต" จนถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดการปกครอง แบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองประจวบคีรีขันธ์ จึงถูกยุบรวมเป็นอำเภอหนึงของจังหวัดเพชรบุรี และต่อมาได้มีการย้ายเมืองประจวบคีรีขันธ์ มาตั้งที่ตำบลเกาะหลัก ในช่วงนี้เมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองปราณบุรี ขึ้นตรงกับจังหวัดเพชรบุรี ส่วนเมืองกำเหนิดนพคุณ ขึ้นตรงกับจังหวัดชุมพร ด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพราชดำริ สงวนชื่อเมืองปราณบุรีไว้ (เมืองเก่าที่ตั้งอยู่ที่ปากน้ำปราณบุรี) จึงได้เปลี่ยนชื่อเมือง ประจวบคีรีขันธ์ ที่ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะหลักเป็นเมืองปราณบุรี หรือ จังหวัดปราณบุรี รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองปราณบุรี เป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ เพื่อป้องกันการสับสน กับเมืองปราณบุรี ที่ปากน้ำปราณบุรี หลังจากมีการยกเลิก ระบบการปกครองแบบมณฑลเทศภิบาล เมืองประจวบคีรีขันธ์ จึงไม่ได้ขึ้นตรงกับ จังหวัดเพชรบุรี ในมณฑลราชบุรีอีก

อาณาเขต :

มีเนื้อที่ประมาณ 6,367.620 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,979,762.5 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดเพชรบุรี
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดชุมพร
ทิศตะวันออก ติดกับอ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดกับสหภาพเมียนม่าร์ โดยมีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นเส้นกั้นพรมแดน

ความยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ ประมาณ 212 กิโลเมตร และชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 224.8 กิโลเมตร มีส่วนที่แคบที่สุดของประเทศอยู่ในเขต ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จากอ่าวไทย ถึงเขตแดนพม่าประมาณ 12 กิโลเมตร ระยะทางจากกรุงเทพฯ ตามทางหลวงแผ่นดิน สายเอเชีย หมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ประมาณ 323 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมงเศษ และตามเส้นทางรถไฟสายใต้ ประมาณ 318 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง

การปกครอง :

แบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 48 ตำบล 388 หมู่บ้าน

1. อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์
2. อำเภอกุยบุรี
3. อำเภอทับสะแก
4. อำเภอบางสะพาน
5. อำเภอบางสะพานน้อย
6. อำเภอปราณบุรี
7. อำเภอหัวหิน
8. อำเภอสามร้อยยอด

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด :
* ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกเกด (Manilkara hexandra)
* ต้นไม้ประจำจังหวัด: เกด (Manilkara hexandra)
* คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สับปะรด สวยสด หาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 032)

อำเภอเมือง

สำนักงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โทร. 0 3260 3991-2
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 3260 2019, 0 3255 0149
ที่ว่าการอำเภอเมือง โทร. 0 3261 1153
โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ โทร. 0 3260 1060–4
สาธารณะสุขจังหวัด โทร. 0 3261 1437
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง โทร. 0 3261 1148
สถานีรถไฟประจวบคีรีขันธ์ โทร. 0 3261 1175
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อบจ. โทร. 0 3261 1491
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155

อำเภอหัวหิน

ที่ว่าการอำเภอหัวหิน โทร. 0 3262 3000, 0 3260 2716
เทศบาลเมืองหัวหิน โทร. 0 3251 1047, 0 3253 2295
เทศบาลเมืองหัวหิน โทร. 0 3253 2293-5
สถานีขนส่งอำเภอหัวหิน โทร. 0 3251 1230
สถานีเดินรถโดยสารประจำทางปรับอากาศชั้นหนึ่ง โทร. 0 3251 1654, 0 3251 2543
สถานีรถไฟหัวหิน โทร. 0 3251 1073
ท่าอากาศยานหัวหิน โทร. 0 3252 0180
โรงพยาบาลหัวหิน โทร. 0 3252 0401, 0 3252 0371
สถานีตำรวจภูธรอำเภอหัวหิน โทร. 0 3253 3440-1
ศูนย์บริการข่าวสารการท่องเที่ยว โทร. 0 3251 1047
ศูนย์ร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อการท่องเที่ยวหัวหิน (รับแจ้งเบาะแส หรือสิ่งผิดปกติ) โทร. 0 3251 9111, 191


แผนที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

แผนที่ตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์

ข้อมูลท่องเที่ยว อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ศาลหลักเมืองประจวบคีรีขันธ์ อยู่ตรงข้ามศาลากลางจังหวัด ถนนสละชีพ เป็นศิลปะเแบบลพบุรี สร้างขึ้นในสมัย ร.ต.อำนวย ไทยานนท์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเปิดศาลหลักเมืองนี้ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2537 เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็นหลักชัยคู่บ้านคู่เมือง
วัดถ้ำเขาคั่นกระได ตั้งอยู่เชิงเขาบริเวณอ่าวน้อย ก่อนถึงตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ มีทางเข้าแยกจากถนนเพชรเกษม กิโลเมตรที่ 314 เป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร ในบริเวณวัดมีถ้ำขนาดเล็กประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ในอดีตถ้ำแห่งนี้เป็นสถานที่ซึ่งชาวเรือมักเข้ามาอาศัยหลบพายุฝน

อ่าวน้อย อ่าวประจวบคีรีขันธ์ อ่าวมะนาว ทั้ง 3 อ่าวอยู่หน้าเมืองประจวบฯมีทิวทัศน์สวยงามเหมาะต่อการออกกำลังกายเช่น วิ่ง ขี่จักรยานเลียบชายทะเล โดยอ่าวน้อยและอ่าวประจวบฯมีถนนเลียบชายหาดเชื่อมโยงถึงกัน อ่าวน้อย มีทิวสนขนานไปกับถนน อ่าวประจวบฯ มีบาทวิถีให้เดินชมทะเลได้อย่างใกล้ชิดส่วนอ่าวมะนาว ซึ่งอยู่ในเขตกองบินที่ 53 กองทัพอากาศเป็นหาดที่เหมาะแก่การเล่นน้ำตรงข้ามกับหาดเป็นเขาล้อมหมวก ยามน้ำลดจะปรากฏสันทรายทอดยาวให้เดินไปเที่ยวชมได้อ่าวมะนาวเคยเป็นยุทธภูมิในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างกองทัพไทยและกองทัพญี่ปุ่น ปัจจุบันมีอนุสาวรีย์วีรชนและจัดงานวันรำลึกวีรกรรม 8 ธันวาคม ทุกปี นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปพักผ่อนได้มีร้านอาหารและบริการบ้านพัก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กองบิน 53 โทร. (032) 661088 ในกรณีที่เข้าพักเป็นหมู่คณะต้องทำหนังสือแจ้งล่วงหน้า
เขาช่องกระจก เป็นภูเขาขนาดเล็กมีลิงเสนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ทางขึ้นอยู่ด้านหลังศาลากลางจังหวัด มีบันไดขึ้นไปจนถึงยอดเขา เป็นที่ตั้งของวัดเขาช่องกระจก ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธบาทจำลอง ด้านทิศเหนือของภูเขามีช่องโปร่งดูคล้ายกับกรอบของกระจก จากยอดเขาสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของตัวเมือง และอ่าวทั้งสามได้อย่างสวยงาม
อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ เป็นสถานที่ี่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ของวงการวิทยาศาสตร์ของไทย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงคำนวณไว้ล่วงหน้าว่าจะมองเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงที่หว้ากอแห่งนี้ และได้เสด็จมาทอดพระเนตรพร้อมด้วยนักวิทยาศาสตร์ และทูตานุฑูตชาวต่างประเทศ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 จากตัวเมืองเดินทางมาทางทิศใต้ 12 กิโลเมตร ตามถนนเพชรเกษมถึงกิโลเมตรที่ 335–336 จะมีทางแยกเข้าหว้ากอทางด้านซ้ายมือ ภายในบริเวณอุทยานวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย อาคารดาราศาสตร์และอวกาศ พิพิธภัณฑ์บ้านหว้ากอ และในอนาคตจะมี พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ท้องฟ้าจำลอง สถานีรถไฟหว้ากอ เป็นต้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. (032) 661098 , 661727 โทรสาร (032) 661098


ข้อมูลท่องเที่ยวอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์



อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในเขตอำเภอเมือง อำเภอทับสะแก และอำเภอบางสะพาน มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 161 ตารางกิโลเมตร หรือ 100,625 ไร่ เป็นป่าบนเทือกเขาตะนาวศรี ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่บริเวณน้ำตกห้วยยาง เป็นน้ำตกขนาดเล็กมี 7 ชั้น บริเวณอุทยานฯ ร่มรื่นน่าพักผ่อน นอกจากนี้ยังมีน้ำตกขาอ่อน น้ำตกห้วยหินดาด น้ำตกเขาล้าน น้ำตกบัวสวรรค์ ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2534
การเดินทางจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ตามถนนเพชรเกษมถึงกิโลเมตรที่350–351 มีทางแยกขวาเข้าที่ทำการอุทยานฯ อีกประมาณ 7 กิโลเมตรในอุทยานฯมีบริการบ้านพัก 2 หลังส่วนเต็นท์นักท่องเที่ยวจะต้องนำไปเอง ติดต่อได้ที่ อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง ตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77130 หรือที่ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ โทร. 579–5734 , 579–7223
อุทยานแห่งชาติหาดวนกร ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ชายหาดมีความยาวประมาณ 7 กิโลเมตร เรียงรายด้วยทิวสนเป็นแนวไปตามชายหาด อุทยานฯ อยู่ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนเพชรเกษมประมาณ 23 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายประมาณกิโลเมตรที่ 350 และมีทางเข้าไปอีกประมาณ 3.5 กิโลเมตร ภายในบริเวณอุทยานฯมีสถานที่น่าสนใจคือ ลานข่อย เกาะจานและเกาะท้ายทรีย์(เป็นแหล่งสัมปทานรังนกนางแอ่น และบริเวณรอบเกาะมีแนวปะการัง) สำหรับการดำน้ำดูปะการังติดต่อได้ที่ที่ทำการอุทยานฯ อุทยานฯ มีบริการเต็นท์และบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว ติดต่อได้ที่ อุทยานแห่งชาติหาดวนกร ตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77130 โทร.(032) 602654 หรือที่งานบริการบ้านพัก ส่วนอุทยานแห่งชาติทางทะเล สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ โทร. 561–2920–21 หรือ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ติดต่อสอบถามจองที่พักได้ที่ โทร. 579–0520( มีบังกะโล และ เรือนนอนในบริเวณอุทยานฯ)


ข้อมูลท่องเที่ยว อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
วังไกลกังวล ตั้งอยู่บนถนนเพชรเกษมห่างจากหัวหินไปทางทิศเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นโดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ สำหรับใช้เป็นที่ประทับในฤดูร้อนและพระราชทานแด่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร ผู้อำนวยการกรมศิลปากร ในสมัยนั้นเป็นผู้ออกแบบและเป็นผู้อำนวยการก่อสร้างโดยเริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2469 ต่อมาได้รับการซ่อมแซมและก่อสร้างเพิ่มเติมในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ในบริเวณมีพระตำหนักหลายหลังมีชื่อคล้องจองกัน ได้แก่ พระตำหนักเปี่ยมสุข ปลุกเกษม เอิบเปรม เอมปรีดิ์ สร้างอยู่กลางอุทยานไม้ดอกไม้ประดับนานาพันธุ์ โดยมีพื้นที่ด้านหนึ่งติดชายทะเล นอกจากนั้นยังมี พิพิธภัณฑ์หอยซึ่งเป็นที่รวบรวมเปลือกหอยนานาชนิด วังไกลกังวลเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. (ยกเว้นในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม) อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท (จำหน่ายบัตรเข้าชมถึงเวลา 15.30 น.) ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. (032) 511115
ศูนย์ศิลปหัตถกรรมหัวหิน ตั้งอยู่ที่เลขที่ 18 ถนนแนบเคหาสน์ เป็นทั้งสวนพฤกษชาติและเป็นแหล่งรวมงานจิตรกรรม ประติมากรรม หัตถกรรมพื้นบ้าน ศิลปะโบราณวัตถุและงานสร้างสรรค์แห่งโลกศิลปะที่นักท่องเที่ยวสามารถชมและสัมผัสได้ ศูนย์ฯนี้เปิดบริการให้เข้าชมฟรีทุกวัน ตั้งแต่เวลา 11.00 - 18.30 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร.(032) 511249 , 511061
ตัวเมืองหัวหิน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 195 กิโลเมตร และอยู่ก่อนถึงตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ประมาณ 90 กิโลเมตร ตลาดหัวหินเป็นตลาดใหญ่มีร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก และโรงแรมมากมาย การคมนาคมสะดวกมีบริการรถสามล้อ รถสองแถวรับจ้าง และรถเช่า ไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในตัวอำเภอ และสถานที่ใกล้เคียง ส่วนทางด้านทิศตะวันออกของตัวเมืองหัวหินเป็นชายหาด มีทางลงหาดอยู่ที่ถนนดำเนินเกษม หาดหัวหินมีความยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ทรายขาวละเอียดเหมาะสำหรับเล่นน้ำทะเล
สถานีรถไฟหัวหิน สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของสถานีรถไฟแห่งนี้คือ พลับพลาพระมงกุฎเกล้าฯเป็นพลับพลาจตุรมุขสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เดิมมีชื่อว่า พลับพลาสนามจันทน์ ตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังสนามจันทน์ จังหวัดนครปฐม พลับพลานี้มีไว้ในการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เสด็จประทับทอดพระเนตรกองเสือป่าและลูกเสือทั่วประเทศทำการฝึกซ้อมยุทธวิธี เป็นประจำทุกปี หลังจากสิ้นรัชสมัยของพระองค์ การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้รื้อถอนมาเก็บไว้ เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ต่อมาในปีพ.ศ. 2511 สมัยพันเอกแสง จุลจาริตต์เป็นผู้ว่าการรถไฟฯได้พิจารณาเห็นว่าควรนำเครื่องอุปกรณ์ก่อสร้าง ของพลับพลาสนามจันทร์มาปลูกสร้างขึ้นใหม่ที่หัวหิน เพื่อเป็นที่ประทับขึ้นและลงรถไฟของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การดำเนินการก่อสร้างนี้ใช้ช่างฝีมือคนไทยและได้มีการทำพิธีเปิดพลับพลาซึ่ง ได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “พลับพลาพระมงกุฎเกล้ฯ”เมื่อวันเสาร์ที่ 6 เมษายน 2517 โดยสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สถานีรถไฟแห่งนี้เป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาวอำเภอหัวหินเป็นอย่างมาก

ตลาดโต้รุ่งหัวหิน เป็นสีสันยามราตรีของหัวหินและเป็นแหล่งรวมอาหารนานาชนิดอาทิ อาหารไทย อาหารทะเล ขนมไทย โรตีแขก เป็นต้น มีนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศแวะเวียนไปเสมอ นอกจากนี้ ยังมีร้านขายของที่ระลึกจำหน่ายอีกด้วย
ตลาดฉัตรไชย เป็นตลาดเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงของหัวหินเป็นที่รู้จักดีในหมู่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม สร้างในปี พ.ศ. 2469 ตามพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะของหลังคาเป็นรูป 7 โค้งอันเป็นสัญญลักษณ์หมายถึงสร้างในสมัยรัชกาลที่ 7 ปัจจุบันเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าที่ระลึก อาหารสดและแห้ง

เขาตะเกียบ เขาไกรลาส เป็นภูเขา 2 ลูกที่อยู่ใกล้กัน อยู่ห่างจากตัวอำเภอหัวหินไปทางทิศใต้ประมาณ 14 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายมือจากถนนเพชรเกษมที่กิโลเมตร 235 เข้าไปประมาณ 500 เมตร จากตลาดหัวหินมีรถโดยสารวิ่งระหว่างหัวหิน-เขาไกรลาส-เขาตะเกียบ
เขา ตะเกียบเป็นเขาที่ยื่นออกไปในทะเลมีโขดหินสวยงาม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางห้ามญาติขนาดใหญ่หันหน้าออกสู่ทะเล บนยอดเขามีทางเดินขึ้นไปสามารถชมทิวทัศน์ของท้องทะเลและตัวเมืองหัวหินได้ อย่างชัดเจน ชายหาดเขาตะเกียบมีความยาวประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีความลาดชันน้อย ทรายขาวละเอียด บริเวณชายหาดมีร้านอาหาร ที่พักและร้านขายของที่ระลึกมากมายไว้บริการ
เขาหินเหล็กไฟ เป็นจุดชมวิวตัวเมืองและอ่าวหัวหินที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่งซึ่งประกอบด้วยจุดชมวิวรวม 3 จุด และเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เขาหินเหล็กไฟนี้ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองหัวหินไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร ช่วงเวลาที่เหมาะในการชมวิวคือช่วงค่ำและเช้าตรู่
ค่ายธนะรัชต์ เป็นค่ายทหารที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ประมาณ 600,000 ไร่เศษ ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษมห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 237 กิโลเมตร ใช้เส้นทางสายธนบุรี-ปากท่อ ภายในค่าย ประกอบด้วย อนุสรณ์สถาน ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นสถานที่รวบรวมชีวประวัติ ผลงานในอดีต เครื่องแต่งกายของใช้ส่วนตัว เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งของไทย และต่างประเทศ พิพิธภัณฑ์ทหารราบ จัดแสดงอาวุธโบราณสมัยต่าง ๆ และ ท่าเสด็จ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปราณบุรี ทางทิศตะวันตกของค่ายฯ ห่างจากถนนเพชรเกษม ประมาณ 12 กิโลเมตร ซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจทางธรรมชาติ มีสวนไม้ดอก ไม้ประดับ พันธุ์ไม้ในวรรณคดี และมีกิจกรรมแนวผจญภัยเช่น การกระโดดหอสูง ไต่หน้าผา ยิงปืน ตกปลา แค้มปิ้ง เป็นต้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายกิจการพลเรือน โทร. (032)542455–64 ต่อ 4163
สวนสนประดิพัทธ์ อยู่ห่างจากหัวหินไปตามถนนเพชรเกษมประมาณ 9 กิโลเมตร โดยมีทางแยกจากถนนเพชรเกษม ที่กิโลเมตร 240 เข้าไปประมาณ 500 เมตร มีรถโดยสารจากหัวหินไปยังสวนสนทุก 20 นาที สวนสนประดิพัทธ์อยู่ในความดูแลของศูนย์การทหารราบ ปราณบุรี มีที่พักลักษณะเป็นบังกะโล เรือนแถวและห้องพัก ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. (032) 511240 , 536581-3
เขาเต่า อยู่ห่างจากตัวอำเภอหัวหินประมาณ 13 กิโลเมตร โดยมีทางแยกจากถนนเพชรเกษม กิโลเมตรที่ 243–244 เข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร มีรถโดยสารวิ่งระหว่างหัวหิน-สามแยกเขาเต่า บริเวณเขาเต่ามีหาดทรายที่สะอาด และสวยงามอยู่ 2 แห่ง คือ หาดทรายน้อย และหาดทรายใหญ่ นอกจากนี้ยังมีเกาะขนาดเล็กอยู่ไม่ห่างจากชายฝั่งเท่าใดนัก บนเกาะมีเปลือกหอยชนิดต่าง ๆ ทับถมกันอยู่มากมายและยังมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่หันพระพักตร์ออกสู่ทะเล

เกาะสิงห์โต อยู่ทางด้านทิศตะวันออก จากสวนสนประดิพัทธ์ไปประมาณ 800 เมตร เป็นเกาะเล็กๆ รูปร่างคล้ายสิงห์โตนอนหมอบหันหน้ามาทางทิศเหนือ เหมาะสำหรับตกปลา นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือได้ที่หมู่บ้านเขาตะเกียบ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที
น้ำตกป่าละอู ตั้งอยู่ในเขตป่าละอู มีพื้นที่ประมาณ 273,125 ไร่ อุดมไปด้วยป่าไม้เขียว ชอุ่ม และสัตว์ป่านานาชนิด ป่าละอูจัดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน มีหน่วยพิทักษ์อุทยานน้ำตกป่าละอู ของกรมป่าไม้ ตั้งอยู่ใกล้อ่างเก็บน้ำก่อนถึงตัวน้ำตกประมาณ 2 กิโลเมตร
น้ำตกป่าละอูประกอบด้วยน้ำตกละอูใหญ่ และน้ำตกละอูน้อย ซึ่งไหลลดหลั่นกันอย่างสวยงามถึง 11 ชั้น สามารถลงเล่นน้ำได้ ช่วงที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน
การเดินทาง จากตลาดหัวหิน มีทางแยกจากถนนเพชรเกษมไปทางทิศตะวันตก ตามทางหลวงหมายเลข 3219 จนสุดถนนราว 63 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าหมู่บ้านฟ้าประทาน แล้วเดินทางต่อไปอีกราว 4 กิโลเมตร สามารถเช่าเหมารถสองแถวซึ่งจอดอยู่ที่ถนนชมสินธุ์ไป-กลับได้ ในกรณีที่ต้องการพักค้างแรม ทางอุทยานฯ มีบริการเต็นท์ให้เช่า คนละ 100 บาท/คน/คืน หรือ จะนำเต็นท์มาเองก็ได้ ติดต่อขออนุญาตพักค้างแรมในเขตอุทยานฯได้ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานน้ำตกป่าละอู อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77110


ข้อมูลท่องเที่ยวอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
แม่น้ำปราณบุรี มีต้นกำเนิดจากผืนป่าแก่งกระจานไหลผ่านทิวเทือกเขาในด้านตะวันตกก่อนไหลลงสู่ทะเลที่ปากน้ำปราณบุรี นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือหางยาวชมทัศนียภาพตลอดลำน้ำไปยังปากน้ำปราณบุรีได้ซึ่งจะผ่านศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ศาลเจ้าแม่ทับทิม ไร่สับปะรด หมู่บ้านชาวประมงและชมนกนานาชนิดใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่สวนอาหารวราการ์เด้น โทร.(032)540255
อ่างเก็บน้ำปราณบุรี ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองตาแต้ม กิโลเมตรที่ 253 ห่างจากจุดปากทางเข้าถนนเพชรเกษม ประมาณ 17 กิโลเมตร และห่างจากที่ว่าการอำเภอปราณบุรี ประมาณ 20 กิโลเมตร อ่างเก็บน้ำปราณบุรีนี้เกิดจากเขื่อนดินสร้างปิดกั้นแม่น้ำปราณบุรี สันเขื่อนยาว 1,500 เมตร กว้าง 8 เมตร สูง 42 เมตร ภูมิประเทศเป็นหุบเขา มีทิวทัศน์ที่สวยงาม ลำน้ำทอดยาวไปในพื้นที่เพาะปลูกของอำเภอปราณบุรี อำเภอกุยบุรี และอำเภอเมือง เป็นระยะทางประมาณ 65 กิโลเมตร
วนอุทยานปราณบุรี เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยกำหนดพื้นที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองเก่า คลองคอย มีพื้นที่ประมาณ 1,984 ไร่ ประกอบด้วย ป่าชายเลน และมีแม่น้ำปราณบุรีไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่ป่า ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสำนักงานป่าไม้เขตเพชรบุรี กรมป่าไม้
วนอุทยานปราณบุรีมีหาดทรายขาวสะอาดร่มรื่นด้วยแนวสนทอดยาว 1 กิโลเมตร เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนและการล่องเรือ เป็นต้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่วนอุทยานปราณบุรี หมู่ 1 ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77220 โทร.(032)559148 , (01) 682–6674 , (01) 763-9652


ข้อมูลท่องเที่ยวกิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ตั้งอยู่ในเขตอำเภอกุยบุรี และอำเภอปราณบุรี ห่างจากหัวหินลงมาทางใต้ประมาณ 63 กิโลเมตร ตามตำนานเล่ากันว่า พื้นที่แถบนี้เคยเป็นทะเลมีเกาะใหญ่น้อยอยู่มากมาย ในสมัยนั้นมีขบวนเรือสำเภาจีนแล่นผ่านมา และประสบกับลมพายุมรสุมจนเรืออับปาง คนบนเรือที่รอดชีวิต 300 คนได้ไปอาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ จึงเรียกว่า “เกาะสามร้อยรอด” ต่อมาเพี้ยนเป็น “เขาสามร้อยยอด” จนทุกวันนี้
อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 98 ตารางกิโลเมตร หรือ 61,300 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาหินปูนสลับซับซ้อน มีที่ราบน้ำท่วมถึงอยู่ริมชายฝั่งทะเล เป็นที่อาศัยของนกนานาชนิด ซึ่งมีมากในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2509 และเป็นอุทยานแห่งชาติประเภทชายฝั่งทะเลแห่งแรกของประเทศไทย
การเดินทาง จากถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4 ) ถึงสี่แยกปราณบุรีเลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายปากน้ำ-ปราณบุรีประมาณ 4 กิโลเมตร จึงเลี้ยวขวาไปตามถนนรพช.ประมาณ 31 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานฯหรือจากถนนเพชรเกษม จนถึงหลักกิโลเมตรที่ 286 (ใกล้บ้านสำโหรง ก่อนถึงอำเภอกุยบุรีประมาณ 6 กิโลเมตร) เลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ 14 กิโลเมตรก็จะถึงที่ทำการอุทยานฯ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ตำบลเขาแดง อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77150 โทร.(032) 603571 บริเวณอุทยานฯมีสถานที่ท่องเที่ยวดังนี้
จุดชมวิวเขาแดง อยู่บนยอดเขาแดง เวลาที่เหมาะแก่การขึ้นชมวิว คือ เวลาประมาณ 05.30 – 07.00 น. เนื่องจากสามารถชมพระอาทิตย์ขึ้น และทัศนียภาพโดยรอบ ๆ ได้อย่างสวยงาม การเดินทาง ต้องเดินเท้าจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 400 เมตรหรือขับรถไปหมู่บ้านเขาแดงจะมีทางแยกด้านซ้ายมือ จอดรถแล้วเดินเท้าขึ้นเขาไปประมาณ 320 เมตร
คลองเขาแดง เหมาะต่อการล่องเรือชมทิวทัศน์และสัตว์นานาชนิดในระบบนิเวศน์ป่าชายเลน นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือได้จากหมู่บ้านเขาแดง และที่หมู่บ้านบางปู โดยลงเรือที่ท่าน้ำหน้าวัดเขาแดง ล่องไปตามลำคลองประมาณ 3-4 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางไป-กลับประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง เวลาที่เหมาะแก่การล่องเรือคือประมาณ 16.00 - 17.00 น. เพราะอากาศไม่ร้อน และสามารถชมพระอาทิตย์ตกได้อย่างสวยงาม
หาดสามพระยา ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นหาดทรายขาวสะอาดร่มรื่นด้วยแนวสนทอดยาว 1 กิโลเมตร เหมาะสำหรับเล่นน้ำและตั้งแค้มป์พักแรม บริเวณชายหาดมีร้านอาหารและห้องน้ำไว้บริการ
ถ้ำไทร อยู่ ในหมู่บ้านคุ้งโตนด ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 9 กิโลเมตร สามารถนำรถยนต์ไปจอดที่หมู่บ้านใกล้เชิงเขาแล้วเดินขึ้นไปบนถ้ำระยะทาง ประมาณ 280 เมตร จุดสนใจในถ้ำได้แก่ สระโบกขรณี ห้องหินงอกหินย้อย ห้องม่านเจ็ดสี ที่ถ่ายรูปพิสดาร น้ำตกแห้ง อนุสาวรีย์ตาเอิบ ซึ่งเป็นผู้พบถ้ำคนแรก บ่อน้ำน้อยหน่าและหินโดม ภายในถ้ำค่อนข้างมืดนักท่องเที่ยวสามารถเช่าตะเกียงเจ้าพายุหรือไฟฉายจากชาว บ้านที่หมู่บ้านคุ้งโตนดได้
ถ้ำแก้ว อยู่ที่เขาหุบจันทร์ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯไปทางบ้านบางปู 13 กิโลเมตร จากเชิงเขาต้องเดินเท้าอีก 15 นาที มีหินงอกหินย้อยสวยงาม ภายในถ้ำมืดมาก และค่อนข้างอันตรายเพราะมีเหวลึก จำเป็นต้องมีตะเกียงเจ้าพายุ และเจ้าหน้าที่ของอุทยานฯ นำทาง
หาดแหลมศาลา และถ้ำพระยานคร อยู่ที่บริเวณเขาเทียน ใกล้บ้านบางปู ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ไปทางทิศเหนือประมาณ 17 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางโดยทางเรือ โดยเช่าเรือจากหมู่บ้านบางปู ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที หรือจะเดินข้ามเขาเทียนเป็นระยะทางประมาณ 530 เมตร จากชายหาดมีทางเดินขึ้นเขาไปยังถ้ำพระยานคร ระหว่างทางมีบ่อน้ำกรุด้วยอิฐดินเผารูปสี่เหลี่ยมคางหมู กว้าง 1 เมตร ลึก 4 เมตร เรียกว่า “บ่อพระยานคร” ตามประวัติเล่าว่าในสมัยรัชกาลที่ 1 เจ้าพระยานคร ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชได้แล่นเรือผ่านทางเขาสามร้อยยอด และเกิดพายุใหญ่ไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ จึงจอดพักเรือหลบพายุที่ชายหาดแห่งนี้เป็นเวลาหลายวัน และได้สร้างบ่อน้ำเพื่อใช้ดื่ม “ถ้ำพระยานคร” เป็นถ้ำขนาดใหญ่ บนเพดานถ้ำมีปล่องให้แสงสว่างลอดเข้ามาได้ จุดเด่นของถ้ำแห่งนี้ คือ “พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์” เป็นพลับพลาแบบจตุรมุข สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2433 เป็นฝีพระหัตถ์ของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ ทรงสร้างขึ้นในกรุงเทพฯ แล้วส่งมาประกอบทีหลังโดยให้พระยาชลยุทธโยธินเป็นนายงานก่อสร้าง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมายกช่อฟ้าด้วยพระองค์เอง พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ นับเป็นจุดเด่นของถ้ำพระยานคร และเป็นตราประจำจังหวัด

ประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบัน อุทยานฯ มีบริการบ้านพักที่บริเวณ เขาแดง และที่ หาดแหลมศาลา และยังมีบริการเต็นท์ให้เช่า ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่อุทยานแห่งชาติทางทะเล กรมป่าไม้ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. 561–2919–20, 561–4294 ต่อ 746-7, 579–5734, 579–7223

ข้อมูลท่องเที่ยว อ.บางสะพาน : อ.บางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

อำเภอบางสะพาน
อ่าวแม่รำพึง ห่างจากตัวเมืองประจวบฯประมาณ 120 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม)แยกเข้าตัวอำเภอบางสะพานไปประมาณ 17 กิโลเมตร เป็นชายหาดที่สวยงามแห่งหนึ่งหาดทรายขาว มีถนนเลาะเลียบตลอดแนวชายหาด มีร้านอาหารทะเลบริการนักท่องเที่ยวเหมาะสำหรับพักผ่อน
อ่าวบ่อทองหลาง ห่างจากอ่าวแม่รำพึงตามถนนเลียบชายหาดประมาณ 4 กิโลเมตร มีชายหาดโค้งเป็นรูปวงกลมอยู่ริมเชิงเขาหาดทรายขาวและเกาะหินขนาดเล็กตั้งเรียงรายด้านหน้าอ่าวสามารถลงเล่นน้ำได้ บริเวณชายหาดมีร้านขายอาหารและเครื่องดื่มบริการนักท่องเที่ยว
ตำหนักกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ตั้ง อยู่บนเขาธงชัย ท้องที่บ้านกรูด ซึ่งแยกจากถนนเพชรเกษมเข้าไปทางซ้ายประมาณ 16 กิโลเมตร จะพบตำหนักกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สวยเด่นเป็นสง่าบนยอดเขาธงชัย หันหน้าออกสู่ทะเล บริเวณรอบ ๆ มีสวนไม้ดอก ไม้ประดับ และสำนักสงฆ์ซึ่งเชื่อกันว่ากรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์เคยเสด็จมาประทับ ณ ที่แห่งนี้ เพื่อพักทอดสมอเรือรบ นอกจากนี้บนเขาธงชัยยังเป็นที่ประดิษฐานพระมหาเจดีย์เก้ายอด เป็นจุดชมวิวที่จะเห็นชายหาดที่ทอดตัวเป็นแนวตรงริมหาดชอุ่มเขียวด้วยสวน มะพร้าวกว้างใหญ่เป็นความงามที่ผสานผสมหาดทราย น้ำทะเลและทิวมะพร้าวรวมกันเป็นภาพที่สวยงามลงตัวมาก
เกาะลำร่า เป็นเกาะหินขนาดปานกลางอยู่ที่ตำบลธงชัย (อยู่ระหว่างเขตอำเภอทับสะแก และอำเภอบางสะพาน) บริเวณรอบเกาะมีแนวประการัง บนเกาะเป็นที่อยู่ของชาวประมง
ถ้ำเขาม้าร้อง ห่างจากที่ว่าการอำเภอบางสะพานไปทางทิศใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร ภายในถ้ำมีหลายคูหาซึ่งมีผู้ดูแลติดตั้งไฟฟ้าแสงสีต่าง ๆ ประดับประดาทำให้บรรยากาศในถ้ำดูสวยงามน่าสนใจ ผนังถ้ำด้านหนึ่งมีพระพุทธรูปวางเรียงรายตลอดแนว รถยนต์สามารถเข้าถึงปากถ้ำได้


อำเภอบางสะพานน้อย
เกาะทะลุ เกาะสังข์ เกาะสิงห์ เป็น เกาะที่อยู่ใกล้ ๆ กัน บริเวณรอบ ๆ เกาะอุดมไปด้วยปะการังสีสวย หาดทรายขาวสะอาด เหมาะสำหรับผู้นิยมดำน้ำชมปะการัง และตกปลา นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อเช่าเรือได้ที่ท่าเรือบ้านปากคลอง ใช้เวลาเดินทาง 20 นาที การเดินทาง จากถนนเพชรเกษมแยกซ้ายบริเวณกิโลเมตรที่ 399 ตามเส้นทางบางสะพาน-ชายทะเลไปประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงตลาดบางสะพานเลี้ยวขวาเข้าถนนบางสะพาน-หนองทัดไทซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับ ตลาดบางสะพานไปอีก 10 กิโลเมตร ท่าเรือจะอยู่ทางซ้ายมือ

สินค้าพื้นเมือง และของที่ระลึก
ของฝากจากอำเภอหัวหิน ได้แก่ เครื่องประดับทำจากกะลามะพร้าว ผ้าพิมพ์โขมพัตถ์ ผ้าพิมพ์ลายไทย ไม้กวาดปัดฝุ่น เครื่องใช้ทำจากป่านศรนารายณ์ เครื่องจักสานไม้ไผ่ตลอดจนอาหารทะเลสด และแห้ง
ของฝากจากอำเภอปราณบุรี ได้แก่ ผลไม้ตามฤดูกาล ผลิตภัณฑ์สับปะรด และผลไม้อบแห้ง
ของฝากจากอำเภอทับสะแก ได้แก่ กล้วยอบน้ำผึ้ง มะพร้าวอบน้ำผึ้ง และผลิตภัณฑ์ว่านหางจระเข้

งานประเพณี
งานนมัสการพระบรมสารีริกธาตุเขาช่องกระจก จัดขึ้นที่เขาช่องกระจก อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 12 มิถุนายน ของทุกปี ภายในงานจัดให้มีพิธีถวายสักการะพระบรมสารีริกธาตุ และการห่มผ้ารอบเจดีย์ นอกจากนั้นผู้เข้าร่วมงานสามารถชมภูมิทัศน์ของอ่าวประจวบฯอ่าวน้อยและอ่าวมะนาวจากยอดภูเขากลางเมืองได้อีกด้วย
งานวันที่ระลึก วีรกรรม 8 ธันวาคม 2484 จัดขึ้นที่บริเวณอ่าวมะนาว ภายในพื้นที่กองบิน 53 อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 7-10 ธันวาคม เพื่อเป็นการรำลึกและเชิดชูวีรกรรมของพลเรือน ตำรวจ ทหารของไทยที่เข้าร่วมต่อสู้กับกองกำลังทหารญี่ปุ่น ซึ่งยกพลขึ้นบกที่อ่าวมะนาวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ภายในงานมีการจัดนิทรรศการทางวิชาการของหน่วยงานทหารอากาศ และส่วนราชการต่าง ๆ และมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง การแสดงมหรสพ เช่น ลำตัด และโขนสด

อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


ประวัติความเป็นมา
หว้ากอ...เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงพิสูจน์การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในวันที 18 สิงหาคม 2411 ซึ่งทรงคำนวนไว้ล่วงหน้าถึง 2 ปี เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ พระองค์ทรงใช้พระปรีชาสามารถนำความรู้วิชาการด้านวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ นำการเมืองทำให้ประเทศชาติปลอดภัย ไม่ตกเป็นอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจ
คณะรัฐมนตรีมีมติความเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2532 ให้ดำเนินโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้าฯและในวันที่ 3 พฤษภาคม 2533 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานนามว่า “อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์” เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งเป็นสถานศึกษา สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2536
อาคารดาราศาสตร์
อาคารดาราศาสตร์ ประกอบด้วยอาคาร 3 หลังเชื่อมต่อกัน คือ อาคารพันทิวาทิต พันพินิจจันทรา ดาราทัศนีย์ มีฐานการเรียนรู้ 11 ฐานการเรียน ได้แก่ บันทึกเกียรติยศ, โลกอนาคต, เทคโนโลยีเพื่ออาชีพ, โลกของเด็ก, ฟากฟ้า ณ หว้ากอ, พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย, มนุษย์กับดวงดาว, พระมหากษัตริย์ราชวงศ์ไทยกับดาราศาสตร์, รวมใจชาวประจวบ, ความเป็นไปในจักวาลและเทคโนโลยีอวกาศและเอกภพ
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหว้ากอ
สัมผัสกับมหัศจรรย์โลกใต้น้ำ มีทั้งสีสันความสวยงามของสัตว์น้ำหลากหลายชนิด ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็มในมิติใหม่ของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหว้ากอ ภายในแบ่งพื้นที่เป็น 6 ส่วน คือ ส่วนอัศจรรย์โลกสีคราม, ส่วนจากขุนเขาสู่สายน้ำ, ส่วนสีสันแห่งท้องทะเล, ส่วนเปิดโลกใต้ทะเล, ส่วนพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำและส่วนกิจกรรมปฏิบัติการ
กิจกรรมค่ายหว้ากอ
1. พบกับบรรยากาศแบบสบายๆ เป็นกันเอง ได้ทั้งความรู้ความสนุกสนาน ได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน การรู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความสามัคคี การตรงต่อเวลาและอื่นๆ อีกมากมาย
2. พบกับกิจกรรมหลากหลาย เช่น พิธีถวายสักการะรัชกาลที่ 4 กิจกรรมดูนก ดูดาว กิจกรรมศึกษาฐานการเรียนรู้ กิจกรรม Walk Rally กิจกรรมชายหาด กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมี big tank และอุโมงค์ปลา ที่มีสัตว์น้ำต่างๆ ให้เราได้เรียนรู้ และเห็นถึงความแตกต่างของสรรพสิ่งในระดับความลึกของน้ำราวดำดิ่งสู่ก้นทะเลลึก จากนั้นไปต่อกันที่อุโมงค์ปลาซึ่งเป็นแห่งแรกในเมืองไทย ให้คุณสัมผัสดุจดั่งกำลังเดินอยู่ใต้ท้องทะเลเลยทีเดียว
3. มีที่พักสะอาดบรรยากาศติดทะเล สามารถรองรับสมาชิกได้ประมาณครั้งละ 120-200 คน มีทั้งห้องพักและเต้นท์ ห้องพักเป็นแบบห้องพักรวม แยกชายหญิง ห้องพักพัดลม มีห้องน้ำอยู่นอกห้องพักหลังอาคารพัก
4. มีอาหาร น้ำดื่ม บริการในราคาแบบเป็นกันเอง
หลักสูตรที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน
1. ค่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. ค่ายสิ่งแวดล้อม
3. ค่ายสอนน้องดูดาว
4. ค่ายปักษี
5. ค่ายอนุรักษ์พลังงาน
6. ค่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต
7. ค่าสำหรับเด็กพิการ
8. ค่ายครอบครัว
9. ค่ายทักษะชีวิต
ค่าใช้จ่ายในการเข้าค่ายตลอดหลักสูตร 3 วัน 2 คืน รวมค่าอาหาร ที่พัก วัสดุอุปกรณ์และค่าตอบแทนวิทยากรประมาณ 250-300 บาท/คน
สามารถจองค่ายและสอบถามรายละเอียดได้ที่ งานการตลาด โทร. 032 661 098, 032 661 726, 032 661 104 ในวันและเวลาราชการ
สวนผีเสื้อ
อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีผีเสื้อพันธุ์พื้นเมืองให้คุณได้ชื่นชมมากกว่า 20 ชนิด บรรยากาศภายในสวนร่มรื่น มีมุมนั่งพักผ่อนชมปลาแหวกว่ายเวียนวน และดูน้ำตกสวยๆ เพียบพร้อมด้วยเกร็ดความรู้ให้คุณได้ศึกษา เกี่ยวกับวงจรชีวิตผีเสื้อในห้องจัดแสดงวงจรชีวิตผีเสื้อ ซึ่งคุณจะเรียนรู้เกี่ยวกับวงจรชีวิตของผีเสื้อครบทั้ง 4 ระยะ นอกจากนี้ยังมีศาลาแห่งชีวิตและมีตัวอย่างผีเสื้อที่เก็บรักษาไว้ให้คุณได้ศึกษาอีกด้วย
เวลาทำการ
อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดให้ประชาชนเข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.
การเข้าชมเป็นหมู่คณะ : สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ ชมรม สมาคมฯ ประสงค์เข้าชมเป็นหมู่คณะ โปรดทำหนังสือติดต่อล่วงหน้าในเวลาราชการ โดยทำหนังสือส่งถึง : ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หมู่ 4 ต.คลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77000 โทร. 032 661 098, 032 661 726, 032 661 104 โทรสาน. 032 661 727 www.nfe.go.th/waghor E-mail : waghor@hotmail.com
(คัดลอกจากเอกสารอุทยานวิทยาศสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์)


เมื่อ 100 กว่าปี ล่วงมาแล้วพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ในวันที่ 18 สิงหาคม 2411 จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ประชาชนชาวไทยและทั่วโลก ได้ทราบถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ จึงถวายพระราชสมัญญานามแด่พระองค์ว่า "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไดัรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านหว้ากอ ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาวางศิลาฤกษ์ใน วันที่14 กันยายน 2525 และต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติให้ ดำเนินการโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่ปี 2532 จนกระทั่งกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งเป็นสถานศึกษาสังกัดการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2536
สถานที่ตั้ง
อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (อวจ.) ตั้งอยู่ริมอ่าวหว้ากอ หมู่ 4 ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รหัสไปรษณีย์ 77000 บริเวณกิโลเมตรที่ 335 ถนนเพชรเกษม ห่างจากตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ ไปทางทิศใต้ ประมาณ 10 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 314 กิโลเมตร มีเนื้อที่ตามโฉนดที่ดินจำนวน 485 ไร่ 1 งาน 56.2 ตารางวา อยู่ติดชายทะเลบริเวณอ่าวหว้ากอ มีชายหาดยาว 2.7 กิโลเมตร ขนานทางรถไฟสายใต้ สามารถติดต่อทางโทรศัพท์ หมายเลข (032) 661098, 661726-7,661103 โทรสาร ต่อ 133

พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ตั้งขึ้นตามแผนหลักของโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ และวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลธรรมชาติวิทยาและสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
เริ่มดำเนินดารก่อสร้าง มาตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2543 กำหนดแล้วเสร็จ ในวันที่ 27 มีนาคม 2545 ใช้งบประมาณ ในการก่อสร้างจำนวน 164 ล้านบาท หลังจากก่อสร้างเสร็จก็จะจัด นิทรรศการและการแสดง ภายในเวลา 1 ปี การบริหารจัดการจะเป็นการดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน คาดว่าจะเปิดบริการให้เข้าชมได้ในปี 2547
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแห่งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษา สิ่งมีชีวิตในน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ในประเทศและต่างประเทศ โดยได้รับความร่วมมือ อย่างดีจากกรมประมงและสถาบัน วิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
การเดินทางไปอุทยานวิทยาศาสตร์
ทางรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ท่านสามารถขับรถโดยใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 ( สายธนบุรี ปากท่อ ) ผ่านทาง จังหวัดสมุทรสงคราม แล้วเลี่ยวซ้าย สู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ( ถนนเพชรเกษม) ผ่านจังหวัด เพชรบุรี และอำเภอหัวหิน มุ่งสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมระยะทาง 281 กิโลเมตร หรืออาจจะเดินทาง จากกรุงเทพ มาทางสายพุทธมณฑล ผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี แล้วมุ่งสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วยระยะทางประมาณ 320 กิโลเมตร ต่อจากนั้นเดินทางต่อไปยังอุทยานวิทยาศาตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศใต้ประมาณ 10 กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทาง สามารถเดินทางได้โดยรถประจำทางธรรมดาและรถประจำทางปรับอากาศ จากสถานีขนส่งสายใต้ โดยรถประจำทางสายกรุงเทพ-หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีรถออกเดินทางวันละหลายเที่ยว
ทางรถไฟ เดินทางออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ ถึงประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีขบวนรถเดินทางวันละ 9 เที่ยว


บ้านหว้ากอ....... จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
อดีต...... หว้ากอ เป็นชื่อหมู่บ้านเล็ก ๆ ในตำบลคลองวาฬ ห่างจากตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ประมาณ 10 กิโลเมตร ความสำคัญของหมู่บ้านนี้เคยเป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงคำนวณไว้ว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง สามารถมองเห็นได้ชัดเจนที่นี่ ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ทั้งยังเสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรสุริยุปราคา ณ ที่แห่งนี้พร้อมพระราชโอรส พระราชธิดาและข้าราชบริพาร ตลอดจนทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวต่างชาติได้มีโอกาสร่วมชมปรากฏการณ์ครั้งนี้ด้วย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงประชวรด้วยไข้ป่าอันเนื่องมาจากการเสด็จหว้ากอในครั้งนั้น และแล้วหว้ากอก็ถูกลืมไปเป็นเวลานาน ค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับถูกทิ้งให้ปรักหักพังไปตามสภาพเนิ่นนานจนกระทั่งปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลได้ประกาศให้วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ในการนี้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้เสด็จแทนพระองค์มาวางศิลาฤกษ์ ณ พระบรมราชา-นุสาวรีย์พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2525
ต่อมาในปี พ.ศ.2532 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้าฯ จัดเป็นโครงการระดับชาติ หลังจากนั้นปี พ.ศ. 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานชื่อโครงการว่า "อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" โดยมอบให้กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการดูแล หว้ากอจึงกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่ง โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งเป็นสถานศึกษาสังกัดส่วนกลางเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2536 เพื่อเทิดพระเกียรติองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย และสนองนโยบายการกระจายโอกาสในการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ดาราศาสตร์และอวกาศ และด้านสิ่งแวดล้อมแก่นักเรียน นักศึกษา เยาวชนและประชาชนทั่วประเทศ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนในเขตภาคใต้และภาคกลาง มีการเวนคืนที่ดิน จัดสร้างอาคารดาราศาสตร์ ฐานการเรียนการสอน ระบบสาธารณูปโภค และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ
ปัจจุบัน...... พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย ประดิษฐานอยู่บริเวณที่เคยเป็นค่ายหลวงหว้ากอเมื่อปี พศ. 2411 ในวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี ประชาชนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จะจัดพิธีถวายสักการะพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย พร้อมทั้งจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์เป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ ยังมีการตัดถนนเลียบทางรถไฟเพื่อให้ประชาชนทั่วไปสัญจรไปมาโดยไม่ผ่าน พื้นที่ของทางอุทยานฯ อาคารที่พร้อมให้บริการเป็นฐานการเรียนรู้ ได้แก่อาคารดาราศาสตร์และอวกาศจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใน 5 ฐานการเรียน อาทิฐานเทคโนโลยีอวกาศ ฐานราชวงศ์ไทยกับดาราศาสตร์ ฐานความเป็นไปในจักรวาล ฐานมนุษย์กับดวงดาว อาคารฐานการเรียนการสอนอาทิ ฐานนกและแมลง ฐานสวนผีเสื้อ ฐานระบบนิเวศชายฝั่ง ฐานพลังงาน ฐานวิวัฒนาการคมนาคมและขนส่ง ฐานพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย และค่ายวิทยาศาสตร์หว้ากอซึ่งมีให้สถานศึกษาและกลุ่มเป้าหมายเลือกถึง 8 หลักสูตร อาทิค่ายครอบครัว ค่ายปักษี ค่ายอนุรักษ์พลังงาน ค่ายสอนน้องดูดาว เป็นต้น
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมที่อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จัดและให้บริการ จะแบ่งเป็น 3 รูปแบบคือรูปแบบ School Programme ที่เปิดโอกาสให้สถานศึกษาส่งครูอาจารย์มาวางแผนและกำหนดหลักสูตรร่วมกับหว้ากอ แล้วจัดส่งเด็กมาเรียนรู้เป็นรายกลุ่มรายห้องเรียน
อนาคต...... ในอนาคตอันสั้น โครงการที่ดำเนินงานต่อไปของอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ ตามแผนแม่บท เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนที่เต็มรูปแบบ คือ
1. พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ซึ่งดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปี 2543 จะแล้วเสร็จในวันที่ 22 มีนาคม 2545 เป็นโลกใต้ทะเลขนาดใหญ่ มีความสมบูรณ์สำหรับการเรียนรู้ของเยาวชนและประชาชน
2. ท้องฟ้าจำลอง เป็นท้องฟ้าจำลองที่ทันสมัย สมบูรณ์และมีความพร้อมในการให้บริการการเรียนรู้ด้านอวกาศและดาราศาสตร์ สำหรับเด็ก เยาวชนและประชาชนในเขตภาคใต้ และภาคกลางตลอดจนเยาวชนทั่วประเทศ โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปกทม.
หอดูดาว ซึ่งปัจจุบันอุทยานหว้ากอมีกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ได้มาตรฐาน ขนาด 16 นิ้วและกล้องขนาดมาตรฐาน 4 – 10 นิ้ว ไว้บริการแก่เยาวชนและประชาชน โครงการเหล่านี้จะเปิดให้บริการในอนาคตอันใกล้นี้ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย ผู้ทรงพระราชทานแนวทางการพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาแต่โบราณ และเป็นการกระจายโอกาสในการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียน นักศึกษา เยาวชนและประชาชน ในเขตภาคใต้ ภาคกลางและทั่วประเทศ ต่อไป

วัดห้วยมงคล...ที่ประดิษฐานรูปเหมือน หลวงพ่อทวดองค์ใหญ่ที่สุดในโลก
ตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ประวัติหลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
หลวงพ่อทวด หรือ สมเด็จพะโค๊ะ มี นามเดิมว่าปู เป็นบุตรนายหู นางจัน วัน เดือน ปี เกิดของเด็กชายปู บ้างว่าเป็นเดือน 4 ปีมะโรง ตรงกับ พ.ศ. 2125 บ้างว่าปี พ.ศ. 990 ฉลู สัมฤทธิศก บ้างว่า พ.ศ. 2131 โดยอนุมาน เข้าใจว่าคงเป็นปลายสมัยมหาธรรมราชา อาจเป็นปี พ.ศ. 2125 หือ 2131 ตอนเด็กชายปูยังเป็นทารก มีเรื่องเล่าเป็นปฏิหาริย์เอาไว้ว่าหลังจากนางจันเลิกอยู่ไฟก็ออกเกี่ยวข้าว ทันที วันหนึ่งนางไปเก็บข้าวก็เอาบุตรให้นอนในเปลใต้ต้นหว้างูบองสลาขึ้นมานอนบน เปลนั้น มารดา บิดาเห็นตกใจ งูก็เลื้อยหายไป แต่ได้คายแก้ววิเศษเอาไว้ให้ เมื่อเด็กชายปูอายุได้ 7 ขวบ บิดาได้นำไปฝากกับท่านสมภารจวงซึ่งเป็นพี่ชายของนางจันผู้เป็นมารดา (หลวงลุง) วัดกุฏิหลวง (วัดดีหลวง) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือ เด็กชายปูมีความเฉลียวฉลาดมากสามารถเรียนหนังสือขอมและไทยได้อย่างรวดเร็ว ครั้นอายุได้ 10 ขวบ ก็บวชเป็นสามเณรและบิดาได้มอบแก้ววิเศษให้เป็นของประจำตัว ต่อมาสามเณรปูได้ไปศึกษาต่อกับพระชินเสนที่วัดสีหยัง (สีคูยัง) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ที่เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงมากมาจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อได้อายุ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่นครศรีธรรมราช ณ สำนักพระมหาเถระปิยทัสสี ต่อมาก็ได้เข้ารับการอุปสมบท มีฉายาว่า “ราโมธมฺมิโก” แต่คนทั่วไปเรียกว่า “เจ้าสามีราม” เจ้าสามีรามได้ศึกษาอยู่ที่วัดท่าแพ วัดสีมาเมือง และวัดอื่นๆอีกหลายวัด
เมื่อเห็นว่าการศึกษาที่นครศรีธรรมราชเพียงพอ จึงได้ขอโดยสารเรือสำเภาเดินทางไปกรุงศรีอยุธยา ขณะเดินทางถึงเมืองชุมพรเกิดคลื่นลมทะเลปั่นป่วนเรือไม่สามารถแล่นฝ่าคลื่น ลมไปได้ ต้องทอดสมออยู่ถึง 7 วัน ทำให้เสบียงอาหารและน้ำหมด บรรดาลูกเรือจึงตั้งข้อสงสัยว่าการที่เกิดอาเพศในครั้งนี้เป็นเพราะเจ้าสามี ราม จึงตกลงใจส่งเจ้าสามีรามขึ้นเกาะ ได้นิมนต์ให้เจ้าสามีรามลงเรือมาดขณะที่นั่งอยู่ในเรือมาดนั้นท่านได้ห้อย เท้าแช่ลงไปในน้ำทะเล ก็บังเกิดอัศจรรย์น้ำทะเลบริเวณนั้นเป็นประกายแวววาวโชติช่วงเจ้าสามีราม จึงบอกให้ลูกเรือตักน้ำขึ้นมาดื่มก็รู้สึกว่าเป็นน้ำจืดจึงช่วงกันตักไว้จน เพียงพอ นายสำเภาจึงนิมนต์ให้ขึ้นสำเภาอีก และตั้งแต่นั้นเจ้าสามีรามเป็นชีต้น หรืออาจารย์ของเจ้าสำเภาอิน สืบมา
อภินิหารที่ท่านสามีรามเหยียบน้ำทะเลจืดเป็นที่โจษขานมาถึงบัดนี้และเหตุการณ์ตอนนี้เล่าเสริมพิสดารขึ้นว่า ตอนแรกนายอินเชื่อมั่นว่าพระสามีรามเป็นกาลกิณีเรือจึงต้องพายุเพราะก่อนมาไม่เคยเป็น เมื่อคลื่นลมสงบจึงคิดจะเอาเจ้าสามีรามปล่อยเกาะ แต่ครั้นเห็นปาฏิหาริย์จึงขอขมาโทษ
ในยุคนี้และสมัยนี้ เกือบจะไม่มีชาวไทยคนใดเลย ที่จะไม่เคยได้ยินชื่อหรือได้ฟังกิติศัพท์เล่าลือเกี่ยวกับ ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด ความศักดิ์สิทธิ์อันนี้ บ้างก็เป็นเรื่องของความคลาดแคล้วจากอุบัติเหตุสยองจากไฟไหม้หรือจากภัยพิบัติ นานัปการ และหลวงพ่อทวดมิใช่จะคุ้มครองเฉพาะด้านอุบัติเหตุเท่านั้น แม้แต่ในทางโชคลาภ ก็ให้ผลอย่างดีที่สุด ดังที่ได้ประจักษ์แก่ผู้เลื่อมใสมาแล้ว
วัดห้วยมงคล เป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงพ่อทวดองค์ใหญ่ที่สุดในโลก แต่เดิมใช้ชื่อว่า “วัดห้วยคต” ตั้งอยู่ในชุมชนบ้านห้วยคต ตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานนามใหม่จากห้วยคต เป็นห้วยมงคล ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นทั้งชื่อหมู่บ้าน วัด โรงเรียน และโครงการต่างๆ อีกมากมาย
กว่าสี่สิบปีแล้วที่หมู่บ้านห้วยมงคล เป็นที่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาเยี่ยมประชาชนด้วยโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับพสกนิกรให้มีฐานะดีขึ้น ประชาชนมีสุขกันทั่วหน้าและโครงการต่างๆ ก็ดำเนินไปได้ด้วยดี เพราะมีส่วนราชการให้การดูแล รวมทั้งทรงอุปถัมภ์วัดห้วยมงคลไว้ให้เป็นที่พึ่งทางใจสำหรับชาวบ้าน
ต่อมาพระครูปภัสรวรพินิจ หรือพระอาจารย์ไพโรจน์ ปภัสสโร เจ้าอาวาสวัดห้วยมงคลองค์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นพระนักพัฒนาที่มีศีลจารวัตที่ดีงามเป็นที่เคารพของคนในชุมชนบ้าน ห้วยมงคล และพลเอกวิเศษ คงอุทัยกุลรองสมุหราชองครักษ์ได้มีดำริที่จะสร้าง “หลวงพ่อทวด” องค์ใหญ่ที่สุดในโลกเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ รวมทั้งเผยแพร่และสืบทอดพระพุทธศาสนาอีกทั้งให้เป็นที่เคารพสักการบูชาและ เป็นที่พึ่งทางใจของเหล่าพุทธศาสนิกชน
ด้วยเรื่องราวปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อทวด (เหยียบน้ำทะเลจืด) ที่พุทธศาสนิกชนในภาคใต้ให้ความเคารพเลื่อมใสมาเป็นเวลานาน และรู้จักกันเป็นอย่างดี จึงก่อเกิดการร่วมมือร่วมใจจากหลายองค์กรทั้งทางภาครัฐและเอกชนในการสร้าง ประติมากรรมองค์จำลองหลวงพ่อทวดองค์ใหญ่ที่สุดในโลก โดยกาลนี้สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร เททองหล่อองค์หลวงพ่อทวด เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2547 และพระราชทานพระราชานุญาตให้คณะกรรมการจัดสร้างอันเชิญพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ขึ้นประดิษฐานที่หน้าองค์รูปหล่อองค์หลวงพ่อทวด
บัดนี้รูปหล่อหลวงพ่อทวดองค์ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งหล่อด้วยโลหะผสม หน้าตักกว้าง 9.9 เมตร สูง 11.5 เมตร บนฐานสูง 3 ชั้น ชั้นล่างกว้าง 70 เมตร ยาว 70 เมตร ได้จัดสร้างเสร็จสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อย พร้อมที่จะให้พุทธศาสนิกชนทั่วทั้งประเทศได้เดินทางมานมัสการกราบไหว้ เคารพสักการะ ด้วยเส้นทางที่สะดวกต่อการคมนาคม
นอกจากนี้ที่วัดห้วยมงคลแห่งนี้ยังมีหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดแกละสลักจากได้ตะเคียนทองขนาดใหญ่อายุกว่าพันปี ที่ฝังอยู่ในทรายใต้แม่น้ำยม จังหวัดแพร่ลึกกว่า 10 เมตร ชาวบ้านเชื่อกันว่าต้นไม้ที่มีแก่นสูง 1 คืบขึ้นไปจะมีรุกขเทวดาสถิตอยู่เพื่อดูแลปกป้องคุ้มครองคนที่มาสักการบูชา เมื่อนำต้นตะเคียนทองมาทำรูปเคารพ เช่นแกะเป็นหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดจึงมีอนุภาพและความศักดิ์สิทธิ์เป็นทวีสิทธิ์ ดลบันดาลให้ทุกท่านประสบแต่ความสุขความเจริญปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
(คัดลอกจากเอกสารวัดห้วยมงคล ตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์)


อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
อุทยานแห่งชาติกุยบุรี มีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่อำเภอปราณบุรี กิ่งอำเภอสามร้อยยอด อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่า ตลอดจนทิวทัศน์ที่สวยงาม เพื่อให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม มิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา และรื่นรมย์ของประชาชน มีเนื้อที่ประมาณ 605,625 ไร่ หรือ 969 ตารางกิโลเมตร
ความ เป็นมา : จากสถานการณ์ป่าไม้ในปัจจุบันพบว่า พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายจนน่าวิตกว่าจะมีปริมาณไม่เพียงพอที่จะรักษาสภาพสมดุล ธรรมชาติเอาไว้ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดกรณีอันน่าสลด หากไม่เร่งดำเนินการรักษาสภาพธรรมชาติเอาไว้ ดังนั้น กรมป่าไม้จึงมีคำสั่ง ที่ 475/2532 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2532 ให้ นายจุมพล เจริญสุขพาณิชย์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 กองอุทยานแห่งชาติไปดำเนินการสำรวจเบื้องต้นที่ป่าบริเวณวนอุทยานปราณบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง เขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองเก่า-คลองคอย และกรมป่าไม้มีคำสั่ง ที่ 1627/2532 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ให้นายสรรเพชร ราคา เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติ ไปดำเนินการสำรวจเพิ่มเติม เพื่อดำเนินการจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติกุยบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยให้ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี
ผลการสำรวจพบว่า สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นป่าผืนใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกติดต่อกับชายแดนพม่า เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี ประกอบด้วยป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ หนาแน่นด้วยพันธุ์ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจมากมาย เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ซึ่งราษฎรได้บุกรุกพื้นที่ใช้ในการเพาะปลูก ส่วนใหญ่ทำไร่สับปะรด และเป็นที่อยู่อาศัย ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจที่ กษ 0713(กร)/19 ลงวันที่ 29 มกราคม 2536
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2537 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2537 สมควรกำหนดพื้นที่ป่ากุยบุรีให้เป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการเพิกถอนป่ากุยบุรี และดำเนินการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แล้ว ประกอบด้วยพื้นที่ทั้งหมด 605,625 ไร่ โดยได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่ากุยบุรี ในท้องที่ตำบลเขาจ้าว อำเภอปราณบุรี ตำบลศิลาลัย ตำบลศาลาลัย ตำบลไร่เก่า ตำบลไร่ใหม่ กิ่งอำเภอสามร้อยยอด อำเภอปราณบุรี ตำบลหาดขาม ตำบลสามกระทาย ตำบลกุยบุรี และตำบลบ่อนอก ตำบลอ่าวน้อย ตำบลเกาะหลัก ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 20ก วันที่ 25 มีนาคม 2542 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 90 ของประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน แนวเขาขวางตัวในทิศเหนือ-ใต้ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี อันเป็นเทือกเขาซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า ซึ่งมีสภาพพื้นที่แบ่งออกเป็นสองลักษณะ คือ แบบลูกคลื่นลอนชั้นถึงเนินเขา มีความลาดชันประมาณ 80-100 เมตร พื้นที่ส่วนใหญ่จะถูกบุกรุกแผ้วถางทำไร่สับปะรด อ้อย ผักต่างๆ และแบบภูเขา ประกอบด้วยภูเขาสูงชัน ลาดชันประมาณ 35% และอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 750 เมตรขึ้นไป ประกอบด้วยเขาวังไทรดิ่ง เขาหนองหว้า..เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของลำห้วยลำธารหลายสาย เช่น ห้วยตะลุยแพรกขวา ห้วยตะลุยแพรกซ้าย คลองกุย เป็นต้น
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพอากาศระหว่างเดือนพฤษภาคม – พฤศจิกายน เป็นฤดูฝน :ซึ่งจะมีฝนตกชุกในเดือนพฤษภาคมและจะทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม หลังจากนั้นจะตกหนักในเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,179 มิลลิเมตร อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 25 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 29 องศาเซลเซียส
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ พลอง ทะลายเขา เขล็ง กระชิด พลวง สมอ ตะเคียนหิน มะไฟป่า พืชตระกูลปาล์มชนิดต่างๆ เช่น หมากเขียว หวายชนิดต่างๆ เต่าร้าง โดยเฉพาะหวายมีเป็นจำนวนมาก พืชชั้นล่างหลายชนิด เช่น พวกพืชในวงศ์ขิง ข่า เฟิน บอน เป็นต้น

สำหรับสัตว์ป่ายังมีชุกชุม เนื่องจากมีแหล่งน้ำและอาหารสมบูรณ์ สัตว์ป่าทั่วไป ได้แก่ ช้างป่า กระทิง วัวแดง กวางป่า หมี เก้ง สมเสร็จ ชะนี ลิง ค่าง เลียงผา กระจง หมูป่า กระต่ายป่า ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีนกชนิดต่างๆ เช่น นกกาฮัง ไก่ป่า นกระวังไพร นกกางเขนดง นกเขา นกยางกรอก นกยางแดง และยังมีสัตว์เลื้อยคลานได้แก่ เต่า ตะพาบน้ำ และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ได้แก่ กบทูด คางคก เขียด และปลาชนิดต่างๆ
แหล่งท่องเที่ยว
น้ำตกห้วยดงมะไฟเป็นน้ำตกที่ลดหลั่นกันลงมา 15 ชั้น จากต้นน้ำกุยบุรีแพรกขวา มีลักษณะเป็นแก่นหินแกรนิต มีแอ่งน้ำสำหรับเล่นได้ มีความสวยงาม ร่มรื่น ของสภาพป่าสองฝั่ง ลำธาร น้ำใสและบริสุทธิ์มาก เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจได้เป็นอย่างดี

น้ำตกผาหมาหอน เป็นน้ำตกที่มีระดับลดหลั่นกันลงมา 3 ชั้น เกิดจากต้นน้ำกุยบุรีแพรกซ้าย มีลักษณะเป็นผาลาดสูงชันเกือบตั้งฉาก มีสายน้ำใสไหลแรงตลอดเวลา บริเวณตอนกลางมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ และบริเวณพื้นล่างมีพันธุ์ไม้จำนวนมาก เช่น เฟิน ปาล์ม หลากชนิดเหมาะแก่การเดินชมศึกษาสภาพธรรมชาติและพักผ่อนหย่อนใจ
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ อยู่ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร เส้นทางผ่านป่าดิบแล้ง ซึ่งมีสิ่งที่น่าสนใจ เช่น เถาวัลย์ ไทร จุดชมทิวทัศน์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีร่องรอยของช้างป่าให้พบเห็นได้ทั่วไป ทั้งกองมูลและรอยตีนช้าง
หากต้องการศึกษาสภาพการดำรงชีวิตของช้างป่าสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กร.1 (ป่ายาง) หมู่ที่ 7 ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี เวลาที่เหมาะสมในการชมช้างป่าอยู่ในช่วง 16.00-18.00 น.

สันมะค่า เป็นจุดชมทิวทัศน์ ณ จุดนี้ ในช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ นักท่องเที่ยวสามารถชมทะเลหมอกและน้ำตกได้
บ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวก
บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยวและมีสถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
พร้อมห้องน้ำ-ห้องสุขารวม ไว้ให้บริการ ท่านสามารถนำเต็นท์มากางเอง หรือติดต่อขอใช้บริการเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีค่าบริการอยู่หลายอัตราขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ รายละเอียดเกี่ยวกับที่พักเต็นท์ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง
การเดินทาง
รถยนต์ สามารถเดินทางสายกรุงเทพฯ–ภาคใต้ จะผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ทุกสาย มีเส้นทางที่สามารถเดินทางเข้าไปยังพื้นที่ป่า ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 295 แยกขวาเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3217 (กุยบุรี-ยางชุม) ระยะทาง 20 กิโลเมตร ถึงบ้านยางชุม แล้วแยกซ้ายตามถนนข้างอ่างเก็บน้ำยางชุม ถึงบ้านย่านซื่อ ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร และแยกซ้ายระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ตู้ ปณ.10 ปณจ.กุยบุรี อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77150 โทรศัพท์ 0 9212 7274 อีเมล reserve@dnp.go.th

อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอบางสะพาน อำเภอทับสะแก และอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในส่วนที่แคบที่สุดของประเทศ ซึ่งได้รวมจุดเด่นรอบๆ วนอุทยานน้ำตกห้วยยางผนวกเข้าด้วยกัน ซึ่งได้แก่ น้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง ตลอดจนมีสัตว์ป่านานาชนิด เป็นอุทยานแห่งชาติที่พร้อมด้วยป่าเขา น้ำตก ชายหาด รวมมี เนื้อที่ประมาณ 100,625 ไร่ หรือ 161 ตารางกิโลเมตร ในปี 2530 กรมป่าไม้ได้รับแจ้งจากสำนักงานป่าไม้เขตเพชรบุรีตามหนังสือ ที่ กษ 0714 (พบ)/825 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2530 แจ้งว่า ได้รับหนังสือจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่ ปจ 0009/940 ลงวันที่ 16 มกราคม 2530 ส่ง รายงานการตรวจดูแลป่าสงวนแห่งชาติของสำนักงานป่าไม้อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ว่า ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าทับสะแก มีน้ำตกที่สวยงาม 2 แห่ง สมควรจัดตั้งเป็นวนอุทยาน สำนักงานป่าไม้เขตเพชรบุรีจึงได้ให้เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ปจ.3 (ทับสะแก) ออกไปสำรวจข้อมูลรายละเอียดแล้ว ปรากฏว่า พื้นที่ดังกล่าวมีน้ำตกขาอ่อน (ทับมอญ) และน้ำตกห้วยหินดาษเหมาะสมจัดตั้งเป็นวนอุทยานเพื่อรักษาสภาพป่าไม้และต้นน้ำลำธารอันสวยงามนี้ไว้ ซึ่ง นายธำมรงค์ ประกอบบุญ ผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติ ได้มีบันทึกลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2530 เสนอกรมป่าไม้เห็นควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อคุ้มครองรักษาต้นน้ำลำธารนี้ไว้
กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือที่ กษ 0713/1673 ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2530 ให้ นายสินธุ์ มะลิวัลย์ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ 4 หัวหน้าวนอุทยานน้ำตกห้วยยาง ทำการสำรวจเบื้องต้นบริเวณน้ำตกทั้ง 2 แห่ง ผลการสำรวจตามหนังสือวนอุทยานน้ำตกห้วยยาง ที่ กษ 0713(หย)/161 ลงวันที่ 14 กันยายน 2530 เห็นควรผนวกป่าและน้ำตกทั้ง 2 แห่ง เข้ากับวนอุทยานน้ำตกห้วยยาง จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้ ยืนนานต่อไป ต่อมากองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือที่ กษ0713/2613 ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2531 ให้ วนอุทยานน้ำตกห้วยยางสำรวจพื้นที่หาดวนกรเพื่อผนวกเป็นอุทยานแห่งชาติด้วย ตามคำแนะนำของ นายกษม รัตนไชย ผู้ช่วยป่าไม้เขตเพชรบุรี ผลการสำรวจตามหนังสือวนอุทยานที่ กษ 0713(หย)/148 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2531 เห็นควรผนวกป่าวังด้วนและป่าห้วยยาง (หาดวนกร) เข้ากับพื้นที่ทั้งหมดจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเช่นกัน

จากการไปตรวจราชการในท้องที่สำนักงานป่าไม้เขตเพชรบุรีของ นายยุกติ สาริกะภูติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมป่าไม้ ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2531 - 2 มกราคม 2532 ได้สั่งการให้รวมพื้นที่บริเวณหาดวนกรเข้าเป็นอุทยานแห่งชาติ และในการประชุมผู้อำนวยการกองในสังกัดกรมป่าไม้ เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2532 ได้พิจารณาให้ผนวกพื้นที่ป่าห้วยยางและสวนป่าห้วยยาง (พื้นที่ติดต่อกับหาดวนกร) เป็นอุทยานแห่งชาติด้วย
กองอุทยานแห่งชาติจึงได้ดำเนินการผนวกบริเวณพื้นที่ป่าน้ำตกขาอ่อน น้ำตกห้วยหินดาษ และวนอุทยานน้ำตกห้วยยางในป่าทับสะแก ท้องที่ตำบลธงไชย อำเภอบางสะพาน ตำบลอ่างทอง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และป่าวังด้วน ป่าห้วยยาง ท้องที่ตำบลห้วยทราย อำเภอเมือง และตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมเนื้อที่ ทั้งหมดประมาณ 124,300 ไร่ หรือ 198.88 ตารางกิโลเมตร (ทั้งนี้รวมที่เป็นพื้นน้ำด้วย 15.36 ตารางกิโลเมตร) ให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
ต่อมากองอุทยานแห่งชาติมีความเห็นว่า พื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางซึ่งมีบริเวณน้ำตกขาอ่อน น้ำตกห้วยหินดาษ และวนอุทยานน้ำตกห้วยยางมีพื้นที่เชื่อมติดต่อกันโดยตลอด ส่วนบริเวณป่าวังด้วนและป่าห้วยยาง (หาดวนกร) มีพื้นที่ไม่ติดต่อกัน เพื่อความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ในการดูแลรักษาและควบคุม จึงให้แยกเป็น 2 อุทยานแห่งชาติ คืออุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง และอุทยานแห่งชาติหาดวนกร เพื่อคุ้มครองรักษาต้นน้ำลำธารไว้และอนุรักษ์ทรัพยากรให้ยืนนานต่อไป

ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แล้ว ประกอบด้วยพื้นที่ทั้งหมด 100,625 ไร่ โดยได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าทับสะแก ในท้องที่ตำบลห้วยยาง ตำบลเขาล้าน ตำบลแสงอรุณ ตำบลนาหูกวาง ตำบลอ่างทอง อำเภอทับสะแก และตำบลชัยเกษม อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 215 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2534 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 70 ของประเทศไทย
ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางประกอบด้วยเทือกเขาสูงติดต่อกัน มีพื้นที่อยู่บนเทือกเขาตะนาวศรี ส่วนใหญ่จะเป็นเนินเขาสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-1,200 เมตร โดยมียอดเขาหลวงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่เกิดจากสันเขากั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศ สหภาพพม่า ได้แก่ คลองอ่างทอง คลองแก่ง คลองทับสะแก คลองจะกระ คลองไข่เน่า คลองตาเกล็ด คลองห้วยยาง คลองห้วยมา และคลองหินจวง ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย และหินเป็นหินแกรนิตและหินลูกรัง ส่วนด้านทิศตะวันออกติดกับพื้นที่ราบและชายทะเลอ่าวไทย
ลักษณะภูมิอากาศ
พื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางตั้งอยู่ในเขตภาคใต้ของประเทศไทย และมีพื้นที่อยู่ใกล้ทะเล ลักษณะในแต่ละฤดูกาลจึงไม่แตกต่างกันมากนัก สภาพภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ
ฤดูฝน เริ่มต้นเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย และยังมีร่องความกดอากาศต่ำพัดผ่านภาคใต้เป็นระยะๆ ต่อจากนั้นถึงเดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นระยะแรกที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้ยังคงมีฝนตกชุกต่อเนื่องจนถึงเดือนธันวาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีมากกว่า 1,100 มิลลิเมตร
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้อุณหภูมิลดลงทั่วไป และมีอากาศหนาวเย็นเป็นครั้งคราว โดยอุณหภูมิจะลดลงต่ำสุดในเดือนธันวาคมและมกราคม แต่เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติอยู่ด้านซ้ายฝั่งตะวันออกของภาคใต้ อุณหภูมิจึงลดลงเพียงเล็กน้อย อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนมกราคม 20 อาศาเซลเซียส
ฤดูร้อน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงเปลี่ยนฤดู ระยะนี้เป็นช่องว่างของลมมรสุมหลังจากสิ้นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะเริ่มสูงขึ้น อากาศจะเริ่มร้อนโดยเฉพาะในเดือนมีมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในเดือนเมษายนประมาณ 29 อาศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27 อาศาเซลเซียส
พืชพรรณและสัตว์ป่า
ประเภทของป่าที่พบในพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา และป่าดิบแล้ง มีพันธุ์ไม้จำพวก ตะเคียน เสลา ตะแบก ยาง ยูง ยมหอม ยมป่า ขนาน ไข่เน่า ไทร พืชพื้นล่างเป็นไผ่ชนิดต่างๆ
พื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางซึ่งเป็นภูเขาลาดชันเป็นเนินเขาสูงติดต่อกัน มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ทั่วไป ได้แก่ ช้างป่า หมีควาย หมีหมา เลียงผา เสือดำ ค่าง ชะนี ลิงกัง หมูป่า เม่น เก้ง กระรอก ค้างคาว และนกนานาชนิด ได้แก่ ไก่ป่า ไก่ฟ้า นกกาฮัง นกเขาเปล้า นกขุนทอง นกปรอด ฯลฯ นอกจากนี้บนยอดเขาหลวงยังมีปูเจ้าฟ้า ( Phricotelphrsa sirinthorn )
แหล่งท่องเที่ยว
น้ำตกห้วยยาง มีทั้งหมด 7 ชั้น น้ำตกชั้นล่างๆ เป็นน้ำตกขนาดเล็ก ธารน้ำไหลมาตามโขดหินสูงตั้งแต่ 2-5 เมตร บริเวณน้ำตกชั้นที่ 5 จะมองเห็นสายน้ำตกจากผาสูงประมาณ 15 เมตร งดงามมาก แต่ต้องปีนและไต่โขดหินขึ้นไป จึงเป็นอันตรายได้ในช่วงฤดูฝนที่น้ำหลาก บริเวณน้ำตกชั้นที่ 4 ยังมีทางแยกขึ้นสู่จุดชมดวงอาทิตย์ขึ้นที่งดงามมาก สามารถมองเห็นทัศนียภาพไปได้ไกลถึงชายทะเล
น้ำตกเขาล้าน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 40 กิโลเมตร จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 จะพบทางเข้าน้ำตกอยู่ตรงอำเภอทับสะแก จากทางเข้าไปประมาณ 14 กิโลเมตร ถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ หย.1 (น้ำตกเขาล้าน) จากนั้นเดินเลียบลำธารต่อไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จะถึงน้ำตกเขาล้านซึ่งมีทั้งหมด 7 ชั้น ระหว่างทางมีธารน้ำตกเล็กๆ ที่สามารถลงเล่นน้ำได้ หรือหากเลือกเดินต่อไปจนถึงสันเขาก็จะมองเห็นน้ำตกเขาล้านไหลตกลงมาจากผาสูงกว่า 50 เมตร เหนือหน้าผาที่เห็นคือ บริเวณน้ำตกชั้นบนสุด สายน้ำไหลจากลานหินกว้างสูงประมาณ 10 เมตร ก่อนจะไหลลงหน้าผา แอ่งน้ำตกชั้นบนสุดสามารถลงเล่นน้ำได้
ยอดเขาหลวง ยอดสูงเทียมเมฆที่ระดับ 1,250 เมตรจากระดับน้ำทะเล นอกจากจะเป็นจุดสูงสุดของอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางแล้ว ยังเป็นต้นน้ำของน้ำตกห้วยยางด้วย บนยอดเขาปกคลุมด้วยป่าดิบเขา อากาศหนาวเย็น ต้นไม้ส่วนใหญ่มีมอสขึ้นปกคลุมลำต้น พื้นที่บางส่วนเป็นทุ่งหญ้าซึ่งจะมีดอกกระเจียวบานในช่วงต้นฤดูฝน จากบริเวณทุ่งกระเจียวจะมองเห็นเทือกเขาตะนาวศรีทอดตัวยาวเป็นแนวพรมแดนประเทศไทยกับพม่า จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติจะมีเส้นทางเดินขึ้นประมาณ 7 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง ผ่านป่าดงดิบร่มครึ้มและลำห้วย โดยจะต้องไต่เขาสูงชันขึ้นเรื่อยๆ
น้ำตกขาอ่อน (ทับมอญ) เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีขนาดลำธารตอนล่างกว้างประมาณ 6 เมตร ประกอบด้วยชั้นน้ำตกรวม 9 ชั้น จะเป็นธารน้ำตกสูงประมาณ 2-5 เมตร สลับกับแนวโขดหิน ชั้นที่ 5 เป็นชั้นที่มีผาน้ำตกมีความสูงประมาณ 15 เมตร อยู่ใกล้ชายแดนพม่าในเขตอำเภอบางสะพาน ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 60 กิโลเตร สามารถเดินทางจากถนนเพชรเกษมไปตามเส้นทางหนองหอย - บ้านตะแบกโพรง หรือสายหนองหญ้าปล้อง – บ้านหนองบอน อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ หย.2 (น้ำตกขาอ่อน) 2 กิโลเมตร
น้ำตกห้วยหินดาษ มี ขนาดลำธารตอนล่างกว้างประมาณ 6 เมตร ประกอบด้วยชั้นน้ำตก 10 ชั้น ในแต่ละชั้นอยู่ใกล้ๆ กัน เพราะเป็นน้ำตกที่อยู่ในซอกเขาที่ค่อนข้างสูงชันสายน้ำตกจึงแรง ชั้นน้ำตกมีความสูงประมาณ 2-5 เมตร อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศใต้ประมาณ 50 กิโลเมตร สามารถเดินทางตามถนนเพชรเกษมเส้นทางบ้านอ่างทอง – บ้านหนองมะค่า อีกประมาณ 11 กิโลเมตร
น้ำตกบัวสวรรค์ มีชั้นน้ำตกที่สวยงามอยู่ 6 ชั้น ท่ามกลางสภาพธรรมชาติโดยรอบที่เขียวชอุ่มดูสวยงามแปลกตา อันเป็นเสน่ห์ของน้ำตกแห่งนี้ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศเหนือประมาณ 20 กิโลเมตร สามารถเดินทางตามถนนเพชรเกษมแล้วเลี้ยวเข้าเส้นทางบ้านสองกะลอนประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงบริเวณทางขึ้นน้ำตก
บ้านพักและสถานที่กางเต็นท์
มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยวและอุทยานแห่งชาติจัดเตรียมเต็นท์และ สถานที่กางเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยวนอกจากนี้ทางอุทยานฯ มีร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึกไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชนในอุทยานฯ
การเดินทาง
รถยนต์ จากกรุงเทพฯ โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 350-351 บริเวณตลาดห้วยยาง (ก่อนถึงอำเภอทับสะแกประมาณ 20 กิโลเมตร) แล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนสายเพชรเกษม-น้ำตกห้วยยาง ประมาณ 7 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกห้วยยาง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง ต.ห้วยยาง อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77130 โทรศัพท์ 0 3261 9751 อีเมล reserve@dnp.go.th


อุทยานแห่งชาติหาดวนกร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
อุทยานแห่งชาติหาดวนกร แต่เดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าวังด้วนและป่าห้วยยาง เป็นที่ตั้งของสวนป่าห้วยทราย ท้องที่อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ สวนป่าห้วยยาง สวนรุกขชาติห้วยยาง และสถานีวนกรรมห้วยยาง ท้องที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต่อมาสถานีวนกรรมห้วยยางได้ถูกยกเลิกไป เมื่อทางกรมป่าไม้มีนโยบายที่จะจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ จึงได้โอนพื้นที่แห่งนี้มาให้กองอุทยานแห่งชาติดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2532 เป็นต้นมา และได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าวังด้วน ป่าห้วยยาง และเกาะใกล้เคียง ในท้องที่ตำบลห้วยทราย อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ และตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมเนื้อที่ 38 ตารางกิโลเมตร โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 126 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2535 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 76 ของประเทศไทย
ลักษณะภูมิประเทศ
มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบขนานกับชายฝั่งทะเล ที่ระดับความสูงเฉลี่ยจากน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 0-5 เมตร ลักษณะเด่นของพื้นที่คือ มีชายหาดทอดยาวจากเหนือลงไปใต้ เป็นชายหาดเปิดที่มีความสะอาด และสวยงาม ซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว
ลักษณะภูมิอากาศ
โดยทั่วไปเป็นแบบมรสุมแถบร้อน และได้รับอิทธิพลจากลมทะเล จะมีความแตกต่างของช่วงฤดูฝน และฤดูแล้งอย่างเห็นได้ชัด ฤดูฝนจะเริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม–เดือนพฤศจิกายน ฤดูหนาวจะเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม–เดือนมกราคม ส่วนเดือนกุมภาพันธ์–เดือนเมษายน เป็นฤดูร้อน ปริมาณฝนตกช่วงเดือนตุลาคมฝนตกมากที่สุด และเดือนธันวาคมฝนตกน้อยที่สุด
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
พืชพรรณ ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดวนกร เป็นป่าเบญจพรรณ สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าโปร่งประกอบด้วยไม้ผลัดใบหลายชนิดขึ้นปะปน พื้นที่ป่ารกทึบ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ไผ่ป่า เกด ยางนา ประดู่ และมะค่าโมง เดิมพื้นที่ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติหาดวนกรเป็นป่าปลูกผสมผสานกับป่าธรรมชาติ ที่ฟื้นตัว พันธุ์ไม้ที่ปลูก ได้แก่ เสลา ตะแบก เป็นต้น
สัตว์ป่า พบว่ามีสัตว์ป่าทั้งหมด 61 ชนิด ที่พบมาก ได้แก่ นกแอ่นกินรัง ประกอบด้วยสัตว์ป่าที่เป็นนก มีทั้งหมด 48 ชนิด และเป็นประเภทอื่นๆ อีก 13 ชนิด เช่น ไก่ป่า กระรอก กระแต กระต่ายป่า จิ้งเหลน สุนัขจิ้งจอก นิ่ม งู และเม่น เป็นต้น
ทรัพยากรทางทะเล ชุกชุมไปด้วยทรัพยากรสัตว์น้ำ ที่เป็นองค์ประกอบของชนิดกุ้ง ปลา ปะการัง เต่าทะเล ตลอดจนปลาโลมาบางชนิดแล้ว ยังพบว่าบริเวณรอบเกาะจาน และเกาะท้ายทรีย์ มีแนวปะการังที่สวยงาม และในท้องทะเลยังพบแหล่งหญ้าทะเล เช่น หญ้าผมนาง เป็นต้น นอกจากนี้บริเวณโขดหินและลานหินตามแนวชายฝั่งทะเล บางบริเวณ เป็นแหล่งฟูมฟัก และเจริญเติบโตของหอยแมลงภู่ตามธรรมชาติ
บ้านพัก-บริการ
ทางอุทยานฯมีบ้านพัก สถานที่กางเต้นท์ ร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยว
เกาะจานและเกาะท้ายทรีย์ มีชายหาดทรายที่ขาวละเอียดยาวประมาณ 100 เมตร และมีแนวปะการังบริเวณท้ายเกาะ บนเกาะทั้งสองมีถ้ำ ซึ่งเป็นที่อยู่ของนกแอ่นกินรังนับแสนตัว

หาดวนกร เป็นหาดอันลือชื่อของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นหาดทรายขาวสะอาด ทอดตัวเป็นแนวยาวสลับกับหัวกรังโขดหินที่ยื่นลงไปในทะเล เหนือขึ้นมาบนชายฝั่งมีทิวสนทะเลและสนประดิพัทธ์เป็นแนวยาวขนานไปกับทะเล
อ่าวมะค่า เป็นบริเวณคุ้งน้ำชายฝั่งทะเลจากบ้านวังด้วนถึงปากคลองน้ำจืด ลักษณะเป็นหน้าผาริมทะเล มีโขดหิน ตลิ่งชัน เสียงคลื่นกระทบฝั่งประสานกับเสียงสนลู่ลม อากาศเย็นสบาย เหมาะสำหรับเป็นจุดชมวิว
การเดินทาง
รถยนต์ เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปตามถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4)ประมาณ 345-346 กิโลเมตร จะพบทางแยกเข้าอุทยานฯ จากทางแยกเดินทางต่อไปอีก 3 กิโลเมตร จะพบที่ทำการอุทยานแห่งชาติหาดวนกร
รถไฟ สามารถลงได้ที่สถานีรถไฟวังด้วน หรือสถานีรถไฟห้วยยาง แล้วเดินทางไปโดยรถยนต์หรือ มอเตอร์ไซด์ รับจ้าง
รถโดยสารประจำทาง รถโดยสารธรรมดาจากกรุงเทพฯถึงอุทยานแห่งชาติ
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติหาดวนกร หมู่ 7 ต.ห้วยยาง อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77130


อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เขาสามร้อยยอด เป็นชื่อที่มีตำนานเล่าว่า พื้นที่แถบนี้เคยเป็นทะเลมีหมู่เกาะน้อยใหญ่เรียงรายกัน ครั้งหนึ่งเคยมีเรือสำเภาจีนแล่นผ่านมาประสบลมพายุรุนแรงจนเรือใกล้อับปาง จึงแวะหลบภัยเข้ามาตามร่องน้ำด้านทิศตะวันตกของเกาะ แต่เนื่องจากไม่ชำนาญพื้นที่ เรือได้ชนกับหินโสโครกอับปางลง ผู้คนจมน้ำตายจำนวนมากที่เหลือรอดตายขึ้นมาอาศัยอยู่บนเกาะประมาณ 300 คน จึงได้ตั้งชื่อว่า “เกาะสามร้อยรอด” ต่อมาระดับน้ำทะเลได้ลดลง เกาะกลายเป็นภูเขา ชาวบ้านเรียกคลาดเคลื่อนเป็น “เขาสามร้อยยอด” บริเวณที่สันนิษฐานว่าเรือจมนั้นชาวบ้านเรียกว่า “อ่าวทะเลสาบ” เคยมีผู้พบซากเสากระโดงเรือโบราณในบริเวณนี้ด้วย บางข้อสันนิษฐานว่า เป็นเพราะมีต้นสามร้อยยอดขึ้นอยู่ หรือมียอดเขามากมายถึง 300 ยอด
ในปี พ.ศ. 2505 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกประกาศกฎกระทรวง ฉบับที่ 100 กำหนดพื้นที่ป่าเขาสามร้อยยอดพื้นที่ประมาณ 99.50 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นป่าสงวนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พุทธศักราช 2481 ก่อน ซึ่งเหตุผลของการประกาศพื้นที่ดังกล่าวเพราะมีพันธุ์ไม้ที่มีค่าขึ้นอย่างหนาแน่นมาก เช่น ไม้จันทน์ มะค่า มะเกลือ แสมสาร และทิวทัศน์ที่สวยงามที่ควรสงวนไว้ ต่อมาพื้นที่ดังกล่าวได้ถูกประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2509 พื้นที่ 61.28 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 4 ของประเทศไทย และเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรก
พื้นที่ส่วนที่เป็นทุ่งสามร้อยยอด เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำมีขนาด 69.22 ตารางกิโลเมตร และคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2513 ให้เป็นที่จัดสรรแก่ราษฎร แต่สภาพพื้นที่ที่เป็นดินเหนียว เค็ม และหนึ่งในสามของพื้นที่มีน้ำท่วมขังตลอดปียากที่จะพัฒนาเพื่อทำการเกษตร ประกอบกับงบประมาณเพื่อใช้ในการดำเนินการจัดสรรพื้นที่ไม่เพียงพอ การดำเนินการจัดสรรจึงยกเลิกไป ปล่อยพื้นที่คงสภาพเป็นทุ่งแขมธรรมชาติ เป็นที่อยู่ของนกไม่ต่ำกว่า 157 ชนิด กรมป่าไม้จึงขอผนวกพื้นที่ดังกล่าว และเพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนแก่ราษฎร คณะกรรมการจำแนกประเภทที่ดินให้ผนวกพื้นที่เพียงครึ่งหนึ่งของทุ่งสามร้อย ยอด ซึ่งต่อมา พ.ศ. 2525 ได้มีการเปลี่ยนแปลงแนวเขตอุทยานแห่งชาติโดยผนวกพื้นที่ทุ่งสามร้อยยอด พื้นที่ 36.8 ตารางกิโลเมตร เข้าเป็นอุทยานแห่งชาติทำให้พื้นที่อุทยานแห่งชาติรวมเป็น 98.08 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ตอนล่างสุดของภาคกลาง หรือด้านเหนือสุดของภาคใต้ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย ในท้องที่ของกิ่งอำเภอสามร้อยยอด และอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ครอบคลุมเขตการปกครอง 2 อำเภอ คือ กิ่งอำเภอสามร้อยยอด และอำเภอกุยบุรี

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยาน แห่งชาติเขาสามร้อยยอด มีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาหินปูนยุคเพอร์เมียนซึ่งมีอายุประมาณ 280-230 ล้านปีมาแล้ว ที่มีความสูงชันริมฝั่งทะเลผสมกับที่ราบริมฝั่งทะเลที่เป็นหาดเลนและห้วงน้ำ ทะเลตื้น รวมตลอดถึงเกาะหินปูนที่ตั้งเรียงรายใกล้ชายฝั่งทะเลซึ่งยาวจากเขากระโหล กทางทิศเหนือถึงเขาแร้งทางทิศใต้ประมาณ 30 กิโลเมตร ได้แก่ เกาะโครำ เกาะนมสาว เกาะระวาง เกาะระวิง เกาะสัตกูด และเกาะขี้นก มีพื้นที่ราบที่มีน้ำขังตลอดปีอยู่ทางด้านตะวันตกของอุทยานแห่งชาติคือ ทุ่งสามร้อยยอด ซึ่งในอดีตเคยเป็นทะเลหรืออ่าว ต่อมาถูกปิดกั้นด้วยตะกอนและสันทราย ทะเลถอยร่นออกไป ได้รับอิทธิพลน้ำจืดจากแผ่นดิน มีการสะสมของตะกอนที่ราบลุ่ม ค่อยๆ กลายเป็นทุ่งน้ำกร่อยและทุ่งน้ำจืดตามลำดับ น้ำจืดในทุ่งสามร้อยยอดส่วนหนึ่งมีแหล่งกำเนิดมาจากเทือกเขาตะนาวศรีไหลผ่าน ห้วยโพระดก ห้วยขมิ้น ห้วยหนองคาง ห้วยไร่ตาพึง แล้วระบายลงสู่ทะเลตามคลองเขาแดง อีกส่วนหนึ่งไหลจากเทือกเขาสามร้อยยอด ทุ่งสามร้อยยอดมีระดับน้ำลึกเฉลี่ย 3 เมตร
เนื่องจากสภาพทางธรณีของเขาสามร้อยยอดเป็นหินปูนที่มีความลาดชันสูง ทำให้เกิดเป็นหน้าผาสูงชันและหุบเหวลึก มีความสูงของยอดเขาที่สูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติถึง 605 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ยอดเขาที่สำคัญได้แก่ ยอดเขาชโลงฟาง เขากระโจม เขาใหญ่ เขาถ้ำประทุน เขาแดง เขาเทียน เขาหุบจันทร์ และเขาขั้นบันได ฯลฯ บริเวณนี้มีสภาพธรณีเป็นหินปูน มีหลายแห่งที่หินปูนถูกอิทธิพลของธรรมชาติกัดเซาะหรือผุกร่อนกลายเป็นถ้ำ หรือปล่องหุบเหวขนาดใหญ่ ที่สำคัญได้แก่ ถ้ำแก้ว ถ้ำไทร ถ้ำพระยานคร เป็นต้น
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า

เนื่องจากสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นภูเขาและได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่งผลให้สังคมพืชในเขตอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดแตกต่างกัน สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ สังคมพืชที่เกิดในพื้นที่ชุ่มน้ำ และสังคมพืชป่าบก ดังนี้
1. สังคมพืชที่เกิดขึ้นในที่ลุ่มน้ำขัง ประกอบด้วย (1) สังคมพืชที่พบในพรุบึงน้ำจืดบริเวณทุ่งสามร้อยยอด ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุกพวกกกชนิดต่างๆ แห้วทรงกระเทียม อ้อ แขม หญ้าปล้อง หญ้าไซ บัวหลวง บัวสายชนิดต่างๆ ผักตบไทย บอน ตาลปัตรฤาษี จอก แหน สาหร่ายข้าวเหนียว เป็นต้น (2) ป่าชายเลน ซึ่งพบตามแนวชายคลองบางปู คลองเขาแดง และลำรางสาขา พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ แสมทะเล โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ตาตุ่มทะเล ตะบูนดำ โปรงแดง ถั่วขาว ฝาดดอกแดง สำมะง่า จาก เถาถอบแถบ เป็นต้น บริเวณที่โล่งซึ่งเป็นดอนตะกาดซึ่งได้รับอิทธิพลความเค็มของน้ำทะเลท่วมถึง แต่ไม่ท่วมต่อเนื่องกันทุกปี พบพืชล้มลุกพวก ชะคราม ผักเบี้ย หญ้าปราบน้ำเค็ม หญ้าขม เป็นต้น
2.สังคมพืชป่าบก ประกอบด้วย (1) ป่าชายหาด พบตามชายหาดบริเวณที่น้ำไม่ท่วมจนถึงบริเวณเชิงเขา พื้นดินเป็นทราย กรวด และโขดหิน พันธุ์ไม้สำคัญที่พบได้แก่ สนทะเล โพทะเล กระทิง เม่า หูกวาง เกด มะนาวผี เตยทะเล ผักบุ้งทะเลเป็นต้น (2) ป่าเบญจพรรณ ส่วนใหญ่ขึ้นบนเขาหินปูน พรรณไม้ที่ขึ้นหลายชนิดมักเป็นพรรณไม้ที่ขึ้นเฉพาะแห่ง เช่น จันทน์ผา จันทน์ชะมด โมกเขา ทะลายเขา และแก้วผา เป็นต้น ไม้ยืนต้นที่พบมักมีลำต้นแคระแกร็น เนื่องจากพื้นที่เป็นหินปูนมีเนื้อดินน้อย ส่วนบริเวณที่มีการสะสมสารอินทรีย์มากและเนื้อดินหนาในบริเวณหุบเขาและเชิง เขา พันธุ์ไม้ที่ขึ้นจะมีลำต้นสูงใหญ่ แต่มีอยู่เป็นหย่อมเล็กหย่อมน้อยกระจัดกระจาย พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ กุ่มน้ำ มะเกลือ พลับดง มะค่าโมง โมกมัน โมกขาว กระดูกไก่ และพลอง เป็นต้น
คำว่า “สามร้อยยอด” นอกจากใช้เป็นชื่ออุทยานแห่งชาติ ชื่อภูเขา ยังใช้เป็นชื่อของพืชด้วย คือ สามร้อยยอด หรือกูดขน แหยงแย้ รังไก่ เป็นพืชใกล้ชิดกับเฟินที่พบทั่วไปในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคใต้และภาคตะวันออก ลำต้นมี 2 ลักษณะ คือ มีทั้งลำต้นที่ทอดนอนเลื้อยไปกับพื้นดินและลำต้นตั้งตรงซึ่งอาจสูงถึงครึ่งเมตร แตกกิ่งก้านสาขาคล้ายสนฉัตร มีใบเล็กๆ ติดอยู่ อวัยวะขยายพันธุ์เกิดเป็นตุ่มห้อยที่ปลายต้น เรียกว่า Cones สามร้อยยอดมักขึ้นตามดินทราย ที่ราบชายเขาที่ได้รับแสงแดดจัดจ้า แต่ชุ่มชื้น ตั้งแต่พื้นที่ราบไปจนถึงระดับความสูงกว่า 1,000 เมตร
บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดมีความหลากหลายของสัตว์ป่า โดยเฉพาะนกซึ่งมีมากถึง 316 ชนิด ประกอบด้วยนกที่อาศัยประจำถิ่นและที่ย้ายถิ่นมาจากที่อื่นตามฤดูกาล และเป็นสถานที่เพียงไม่กี่แห่งของประเทศไทยที่นกกระสาแดง สร้างรังวางไข่ รวมทั้งมีเป็ดแดงอาศัยอยู่ตลอดปี เช่นเดียวกับนกอัญชันอกเทา นกอัญชันคิ้วขาว และนกอีโก้ง
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่พบในอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดมีน้อยมาก ที่มีอยู่ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่หากินกลางคืนและสัตว์ที่ขุดรูอยู่ใต้ดินในทุ่ง ได้แก่ เลียงผา เก้ง กระจงเล็ก หมูป่า ลิงลม ลิงแสม ค่างแว่นถิ่นใต้ อีเห็น พังพอนธรรมดา เม่น ชะมด ค้างคาว หนูพุกใหญ่ หนูท้องขาว ค้างคาวมงกุฏมลายู และชนิดที่น่าสนใจที่พบในน่านน้ำชายฝั่งทะเลบริเวณนี้คือ โลมาหัวบาตร สำหรับสัตว์เลื้อยคลานและสะเทินน้ำสะเทินบกที่พบได้แก่ เต่าเหลือง เต่าหับ เต่าดำ กิ้งก่าบินปีกส้ม กิ้งก่าหัวแดง กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนบ้าน เหี้ย งูเหลือม งูเห่า งูกะปะ งูสิงธรรมดา งูเขียว คางคกบ้าน เขียดหลังปุ่ม กบหนอง กบน้ำเค็ม อึ่งขาคำ อึ่งบ้าน เขียดบัว และเขียดจิก
จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูล พบปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ ไม่น้อยกว่า 45 ชนิด ได้แก่ ปลาช่อน ปลาดุกด้าน ปลานิล ปลาซิว ปลาตะเพียนขาว ปลาไหล ปลาทู ปลาลัง ปลากระบอก ปลากระเบน ปลาตีน กุ้งแชบ๊วย หมึกกล้วย ปูแป้น ปูม้า หอยโข่ง หอยขม หอยแมลงภู่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสัตว์ประเภทอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ผีเสื้อหางติ่งธรรมดา ผีเสื้อเณรจิ๋ว แมลงปอ ยุงน้ำจืด ตั๊กแตนหนวดสั้น จิ้งหรีด มวนแดง และแมงดา เป็นต้น
บ้านพัก-บริการ
ทางอุทยานฯมีบ้านพัก สถานที่กางเต้นท์ ร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยว
คลองเขาแดง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1.5 กิโลเมตร กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวนิยมได้แก่ การล่องเรือ โดยเช่าเรือจากบ้านเขาแดง ลงเรือที่ท่าน้ำหน้าวัดเขาแดงล่องไปตามลำคลองประมาณ 3-4 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางไปกลับประมาณ 1 ชั่วโมง ในระหว่างล่องคลองชมวิวทิวทัศน์ป่าชายเลน จะเห็นนกนานาชนิด เวลาที่เหมาะสมที่จะล่องเรือชมธรรมชาติอีก เวลา 16.30–17.00 น. เพราะสามารถชมและถ่ายภาพพระอาทิตย์ตก
ถ้ำพระยานคร เป็นถ้ำขนาดใหญ่อยู่ในบริเวณหาดแหลมศาลา มี 3 คูหา โดยสองคูหามีปล่องด้านบน ส่วนด้านล่างในถ้ำเป็นป่า ต้นไม้ค่อนข้างสูงชะลูด ถ้ำพระยานครถูกค้นพบโดยพระยานคร ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช แต่ไม่ทราบนาม และในสมัยรัชการที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงทราบว่าถ้ำนี้สวยงามมาก จึงมีพระราชประสงค์ใคร่จะเสด็จประพาส จึงให้นายช่างประจำราชสำนักก่อสร้างพลับพลาแบบจตุรมุขขนาดย่อยตั้ง ไว้บนเนินดินกลางถ้ำ พระองค์เสด็จประพาสเมื่อ 20 มิถุนายน 2433 และพระราชทานนามพลับพลานี้ว่า “พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์” ถ้ำพระยานครนี้จะต้องเดินเท้าขึ้นไปจากหาดแหลมศาลาอีกประมาณ 430 เมตร
ถ้ำแก้ว อยู่ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ไปทางบ้านบางปู ประมาณ 16 กิโลเมตร อยู่ในบริเวณหุบเขาจันทร์ เป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม ลักษณะเด่นของหินงอกหินย้อยที่ส่วนใหญ่ค่อนข้างใส และโปร่งแสง การเดินชมถ้ำค่อนข้างลำบากเนื่องจากภายในถ้ำมืดมากและพื้นไม่เรียบเต็มไป ด้วยหินใหญ่น้อยระเกะระกะ จึงจำเป็นต้องใช้ตะเกียงเจ้าพายุหรือไฟฉาย และมีเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาตินำทางใช้เวลาเที่ยวชม ภายในถ้ำประมาณ 2 ชั่วโมง

ถ้ำไทรอยู่บริเวณคุ้งโตนด ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 9 กิโลเมตร การขึ้นชมถ้ำมีระยะทางไม่ไกล สามารถนำรถยนต์ไปจอดไว้ที่เชิงเขาแล้วเดินเท้าขึ้นเขาไปอีก 280 เมตร ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ภายในถ้ำค่อนข้างมืดต้องใช้ไฟฉายหรือตะเกียงซึ่งจะมีบริการในวันหยุดราชการ หากเป็นวันธรรมดาสามารถติดต่อขอเช่าตะเกียงได้ที่บ้านคุ้งโตนด ลักษณะภายในถ้ำพบหินงอกหินย้อยที่สวยงาม ระยะเวลาที่เข้าชมภายในถ้ำประมาณ1 ชั่วโมง
ทุ่งสามร้อยยอด เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำประเภทหนึ่ง มีพื้นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีน้ำขังหรือท่วมถึงตลอดทั้งปี มีทั้งส่วนที่เป็นน้ำจืดและน้ำกร่อย เป็นแหล่งที่มีองค์ประกอบทางชีวภาพและกายภาพ เป็นเอกลักษณ์ของระบบซึ่งมีความหลากหลายชนิดของพืช สัตว์ และธาตุอาหาร ทุ่งสามร้อยยอดเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกนานาชนิด ทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพตามฤดูกาล นับเป็นแหล่งดูนกที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศ
เขาแดง ในบริเวณนี้จะมีจุดชมวิวบนยอดเขาแดงที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 157 เมตร จุดชมวิวนี้อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ไปตามถนนลาดยาง 400 เมตร แล้วเดินขึ้นเขาไปอีก 300 เมตร ใช้เวลาประมาณ 30 นาที เวลาที่เหมาะแก่การขึ้นชมวิว คือ ตอนเช้ามืดประมาณ 05.30 น. เพราะสามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นเหนือขอบทะเลบ้านเขาแดงและทัศนียภาพรอบๆ ได้ดี ตลอดจนชมนก ลิงแสม และค่างแว่นที่ออกหาอาหารในตอนเช้าตรู่
หาดแหลมศาลา เป็นหาดสน ที่มีทรายขาว ล้อมรอบด้วยภูเขาเป็นรูปตัวยู ด้านหน้าเป็นชายทะเล มีเกาะสัตกูดบังคลื่นอยู่ด้านหน้า ทำให้เกิดบรรยากาศอันเงียบสงบเหมะสำหรับการพักผ่อน มีบ้านพัก เต็นท์ ห้องน้ำ-ห้องสุขา เส้นทางศึกษาธรรมชาติและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ไว้บริการ มีร้านอาหารของภาคเอกชน ซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชแล้ว
การเดินทางไปหาดแหลมศาลา หากเริ่มต้นที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ต้องมุ่งหน้าขึ้นเหนือไปหมู่บ้านชาวประมง "บ้านบางปู" ระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร นำรถยนต์ไปจอดที่วัดบางปู (รถยนต์เข้าไม่ถึงหาด) จากนั้นต้องตัดสินใจว่าจะเดินทางโดยวิธีการใดใน 2 ทางเลือกนี้
1. ทางเรือ มีเรือหางยาวของชาวบ้านให้บริการรับ-ส่ง จากหาดบ้านบ้านปูไปหาดแหลมศาลา เป็นการเดินทางเลียบชายฝั่ง เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีสัมภาระมาก
2. ทางเท้า ให้สอบถามชาวบ้านหรือสังเกตป้ายบอกทางไปหาดแหลมศาลา เดินข้ามเขาไปประมาณ 500 เมตร เส้นทางเดินขั้นบันได มีราวกั้น ในช่วงที่ลาดชัน ใช้เวลาประมาณ 20 นาที หรืออาจมากกว่าเล็กน้อย หากชมวิวทะเล หมู่บ้านประมง และพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามเทือกเขาหินปูน ในระหว่างเส้นทาง
หาดสามพระยา อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศเหนือประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นหาดทรายที่สวยงามสงบเงียบท่ามกลางดงสน ความยาวของหาดทรายประมาณ 1 กิโลเมตร สามารถกางเต็นท์พักแรมและมีอาหารบริการนักท่องเที่ยว
การเดินทาง
รถยนต์ นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ซึ่งอยู่บริเวณเขาแดง ตามเส้นทางหลัก 2 ทาง คือ
1.เดินทางออกจากกรุงเทพฯ มุ่งสู่ทิศใต้ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (เพชรเกษม) ผ่านจังหวัดเพชรบุรี จนถึงอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บริเวณสี่แยกปราณบุรี ให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายปากน้ำปราณบุรี ประมาณ 4 กิโลเมตร แล้วจึงเลี้ยวขวาไปตามถนน รพช. อีก 31 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
2.เดินทางออกจากกรุงเทพฯ มุ่งสู่ทิศใต้ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (เพชรเกษม) จนถึงหลักกิโลเมตรที่ 286.5 ใกล้บ้านสำโรง ก่อนถึงอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประมาณ 6 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปอีก 14 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
รถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารปรับอากาศ และรถธรรมดาให้บริการที่สถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ไปยังอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากนั้นจะมีรถโดยสารหรือรถยนต์รับจ้างให้บริการจาก ปราณบุรี-บางปู, บางปู-แหลมศาลา, ปราณบุรี-ที่ทำการฯ, บางปู-ที่ทำการฯ
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด หมู่ 2 บ้านเขาแดง ต.เขาแดง อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77150

วนอุทยานแม่รำพึง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
วนอุทยานเขาแม่รำพึง อยู่ในท้องที่ตำบลแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองแม่รำพึง มีเนื้อที่ประมาณ 4,550 ไร่ โดยกรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2545
ลักษณะภูมิประเทศ
ป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองแม่รำพึง มีพื้นที่ประกอบด้วยส่วนที่เป็นป่าบกมีเขาแม่รำพึงซึ่งเป็นภูเขาสูงชัน มียอดเขาสูงสุด 248 เมตร มีพื้นที่สามด้านติดกับทะเล พื้นที่ส่วนใหญ่มีความลาดชันเกิน 35 % และมีทิศด้านลาดทุกทิศทาง ส่วนที่เป็นพื้นที่ป่าชายเลนสองฝั่งคลองแม่รำพึง ปากคลองแม่รำพึงมีสภาพเป็นดินเลนและชายหาดบางส่วน มีพื้นที่เป็นป่าบกประมาณ 1,500 ไร่ และพื้นที่ป่าชายเลน 3,050 ไร่
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
ป่าชายเลนมีพันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ โกงกาง ใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ประสัก พังกาหัวสุม ตะบูน แสมทะเล โปรง ถั่ว เหงือกปลาหมอ โพธิ์ทะเล ปอทะเล
พื้นที่ป่าบกแบ่งเป็นป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณ มีพันธุ์ไม้ขึ้นอยู่หนาแน่นพันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ กระแจะ กระดูกไก่ กระโดน ปลาไหลเผือก มะม่วงป่า มะหวด มะหาด มะเดื่อ มะนาวผี มะพลับ อ้อยช้าง อุโลก เป็นต้น
สัตว์ป่าที่พบได้แก่ เก้ง อีเห็น กระต่ายป่า กระรอก กระแต ลิงแสม ลิงกัง ลิงลม ตะกวด แย้ ไก่ป่าูและนกชนิดต่างๆที่สำคัญมีนกเงือกขนาดเล็กที่เรียกว่านกแก๊กอาศัยอยู่หลายคู่
บ้านพัก-บริการ
วนอุทยานแม่รำพึงไม่มีบ้านพักหรือค่ายพักแรมบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะไปพักแรมค้างคืนและพักผ่อนหย่อนใจ หรือศึกษาหาความรู้ทางธรรมชาติ โปรดนำเต็นท์และเตรียมอาหารไปเอง โดยทางวนอุทยานได้จัดสถานที่ไว้ให้พร้อมกับห้องสุขา ให้ไปติดต่อขออนุญาตใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่ที่วนอุทยานแม่รำพึงโดยตรง
แหล่งท่องเที่ยว
เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงยื่นออกไปในทะเลคล้ายเกาะมีทั้งชายหาด โขดหิน เกาะแก่งสำหรับตกปลา มียอดเขาที่สามารถชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามได้รอบทิศทาง มีน้ำพุร้อนที่ผุดขึ้นมาจากชายหาดโคลน สองฝั่งคลองมีป่าชายเลนสามารถล่องเรือชมวิวดูวิถีชีวิตของชาวบ้านสองฝั่งคลองได้ มีสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงที่อยู่รอบพื้นที่อีกหลายแห่งได้แก่ ชายหาดอ่าวเทียน ชายหาดอ่าวบ้านกรูด ชายหาดอ่าวแม่รำพึง
การเดินทาง
รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม ผ่านจังหวัดนครปฐมถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงสามแยกอำเภอบางสะพานแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอบางสะพานไปชายทะเล 16 กิโลเมตร ก็จะถึงวนอุทยานฯ
จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2) ผ่านจังหวัดสมุทรสงครามเลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 4 ที่อำเภอปากท่อ ผ่านจังหวัดเพชรบุรีแล้วเดินทางต่อตามเส้นทางที่ 1 ก็จะถึงวนอุทยานฯ
รถไฟ จากกรุงเทพฯเดินทางโดยรถไฟถึงสถานีรถไฟอำเภอบางสะพานเดินทางต่อโดยรถเมล์รับจ้างอีกระยะทาง 7 กิโลเมตร ก็จะถึงวนอุทยานแม่รำพึง
สถานที่ติดต่อ
วนอุทยานแม่รำพึง สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (เพชรบุรี) ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์


วนอุทยานป่ากลางอ่าว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
วนอุทยานป่ากลางอ่าว ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่ากลางอ่าว ท้องที่หมู่ที่ 4 ตำบลแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2517 มีเนื้อที่ประมาณ 1,200 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบตลอดพื้นที่ ดินร่วนปนทรายอยู่ใกล้ชายทะเลพื้นที่อยู่ใกล้ชายทะเล น้ำไม่ท่วมขัง เวลาฝนตกน้ำจะไหลซึมลงดินหมดผิวหน้าดินจะมีความอุดมสมบูรณ์ดี เนื่องจากมีสภาพป่าปกคลุมพื้นที่
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะสภาพอากาศมีฝนตกสม่ำเสมอตลอดฤดูฝนในฤดูหนาวอากาศหนาวเล็กน้อย
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
ชนิดของป่าเป็นป่าดงดิบ มีไม้ยางขึ้นอยู่เป็นส่วนมาก รองลงมาเป็นไม้พะยอม ตะเคียน ไม้พันลำ ตามลำดับ ส่วนไม้พื้นล่างมีไม้เปล้าเป็นส่วนมาก และพันธุ์ไม้กระยาเลยอื่น ๆ ขึ้นอยู่หลายชนิดรวมทั้งไม้ไผ่และพืชจำพวกปาล์ม ตลอดจนหญ้าต่าง ๆ ขึ้น อยู่โดยทั่ว ๆ ไป การสืบพันธุ์ตามธรรมชาติของไม้ป่าดีพอประมาณ เนื่องจากมีความชุ่มชื่นดีมาก
สัตว์ป่า มีเฉพาะสัตว์เล็ก ๆ ได้แก่ กระรอก กระแต แย้ จิ้งเหลน นกกางเขนบ้าน นกตะปูด นกปะหลอด และงูต่าง ๆ
บ้านพัก-บริการ

วนอุทยานป่ากลางอ่าว ไม่มีบ้านพักหรือค่ายพักแรมบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะไปพักแรมค้างคืนและพักผ่อนหย่อนใจ หรือศึกษาหาความรู้ทางธรรมชาติ โปรดนำเต็นท์และเตรียมอาหารไปเอง โดยทางวนอุทยานได้จัดสถานที่ไว้ให้พร้อมกับห้องสุขา ให้ไปติดต่อขออนุญาตใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่ที่วนอุทยานป่ากลางอ่าวโดยตรง
การเดินทาง
รถยนต์ เดินทางโดยรถยนต์สายปากคลอง บางสะพาน วนอุทยานป่ากลางอ่าวนี้อยู่ใกล้ทะเลระยะทางจากทะเลประมาณ 500 เมตร ตลอดทั้งมีถนนทางรถยนต์ 2 ด้าน ซึ่งอยู่ทางทิศใต้และทางทิศตะวันตก วนอุทยานป่ากลางอ่าวห่างจากอำเภอบางสะพานประมาณ 2 กิโลเมตร
สถานที่ติดต่อ
วนอุทยานป่ากลางอ่าว สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (เพชรบุรี) ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์


วนอุทยานปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
วนอุทยานปราณบุรี ตั้ง อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติคลองเก่า - คลองคอบ ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาป่าไม้ปากน้ำปราณบุรี ตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถอยู่ในท้องที่อำเภอ ปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีพื้นที่ประมาณ 1,984 ไร่ กรมป่าไม้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2525
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นป่าบกผสมป่าเลน มีทิวทัศน์และหาดทรายที่สวยงาม มีแม่น้ำปราณบุรีไหลผ่านพื้นที่ป่าแห่งนี้
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพอากาศในป่าบริเวณนี้จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมและลมบก ลมทะเล แบ่งเป็น 3 ฤดูกาล ดังนี้
ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน - กลางเดือนพฤศจิกายน
ฤดูหนาว ตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์
ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
ชนิดพรรณไม้ที่ปลูก ได้แก่ สนทะเล สนปฏิพัทธ์ โกงกาง ปรง นนทรี หางนกยูง สะเดา กระถินณรงค์ หูกวาง เป็นต้น
ชนิดของสัตว์ป่า ที่มีอยู่ในพื้นที่ที่พบเห็นจะเป็นสัตว์เล็ก ๆ เช่น กระต่าย เม่น กระรอก กระแต นกชนิดต่าง ๆ ที่หากินปลาและสัตว์เลื้อยคลาน
บ้านพัก-บริการ
วนอุทยานปราณบุรี ไม่มีบ้านพักหรือค่ายพักแรมบริการแก่นักท่องเที่ยว ถ้าหากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะไปพักแรม โปรดนำเต้นท์ไปกางเอง โดยทางวนอุทยานได้จัดสถานที่ไว้ให้พร้อมกับห้องสุขา ส่วนเรื่องอาหารต้องจัดเตรียมไปเอง แล้วไปติดต่อขออนุญาตใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่ของวนอุทยานปราณบุรีโดยตรง รายละเอียดสอบถามได้ที่สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 จังหวัดเพชรบุรี โทร. 0-3243-3658 หรือฝ่ายจัดการวนอุทยาน สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
แหล่งท่องเที่ยว
พื้นที่นี้เป็นป่าบกผสมป่าเลน มีสภาพทิวทัศน์สวยงามตามธรรมชาติและหาดทรายที่สวยงาม และมีแม่น้ำปราณบุรีไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่ป่าและเป็นสถานที่ซึ่งอยู่ใกล้กับหมู่บ้านชาวประมงปากน้ำปราณบุรีเขาเต่า และอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ซึ่งเป็นการสะดวกแก่การไปพักผ่อนหย่อนใจ
การเดินทาง
รถยนต์ การคมนาคมไปวนอุทยานปราณบุรี สะดวกได้ทั้ง 2 ทางคือ
1. ไปตามถนนเพชรเกษมสายเก่าจากอำเภอหัวหิน ไปประมาณ 16 กิโลเมตร หลักกิโลเมตรที่ 246 (บ้านหนองหอย) จะมีป้ายบอกทางแยกซ้ายมือเข้าไปวนอุทยานปราณบุรี ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร
2. ทางแยกสายใหม่ ชะอำ-ปราณบุรี พอถึงสามแยกถนนเพชรเกษมก่อนเข้าปราณบุรี แล้วเลี้ยวซ้ายไปทางอำเภอหัวหิน อีกประมาณ 8 กิโลเมตร หลักกิโลเมตรที่ 246 (บ้านหนองหอย) จะมีทางแยกขวามือ มีป้ายบอกทางเข้าไปวนอุทยาน 4 กิโลเมตร เช่นเดียวกัน
สถานที่ติดต่อ
วนอุทยานปราณบุรี สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (เพชรบุรี) อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์


วนอุทยานเขาตาม่องล่าย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
วนอุทยานเขาตาม่องล่าย อยู่ในท้องที่ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาตาม่องล่าย มีเนื้อที่ประมาณ 862 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2540
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นเทือกเขาสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 290 - 320 เมตร เป็นเขาติดต่อกัน 2 เทือก ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่ยื่นเข้าไปในทะเลเป็นหน้าผาสูงชัน
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ มีความลาดชันตั้งแต่ 35 % ขึ้นไป บริเวณชายหาดมีสภาพเป็นป่าชายหาด มีไม้ไผ่รวกเป็นพื้น พันธุ์ไม้ที่พบได้แแก่ ตะแบก ตะเคียนทอง เสลา ไผ่ โกงกาง แสม และผักบุ้งทะเล
สัตว์ป่าที่พบได้แก่ เลียงผา หมูป่า กระจง อีเห็น เสือปลา และไก่ป่า
บ้านพัก-บริการ
วนอุทยานเขาตาม่องล่าย ไม่มีบ้านพักบริการแก่นักท่องเที่ยว หากมีความประสงค์จะไปพักแรมเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ โปรดนำเต็นท์ไปกางเอง แล้วไปติดต่อขออนุญาตใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่วนอุทยานเขาตาม่องล่ายโดยตรง
แหล่งท่องเที่ยว
จุดชมวิวบนเทือกเขาตาม่องล่ายมีทิวทัศน์สวยงาม สามารถมองเห็นอ่าวประจวบ ฯ และตัวเมืองประจวบได้ มีหน้าผาและโขดหินยื่นล้ำเข้าไปในอ่าวประจวบคีรีขันธ์
การเดินทาง
รถยนต์ เดินทางจากกรุงเทพฯไปตามทางหลวงหมายเลข 4 ถึงกิโลเมตรที่ 326 แยกซ้ายมือเข้าจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปบ้านม่องล่ายตามถนนสวนสน ระยะทาง 7 กิโลเมตร
สถานที่ติดต่อ
วนอุทยานเขาตาม่องล่าย สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (เพชรบุรี) ต.อ่าวน้อย อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์


วนอุทยานท้าวโกษา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
วนอุทยานท้าวโกษา อยู่ในท้องที่หมู่ 4 ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2543
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นภูเขาหินปูนอยู่ในทะเลอ่าวไทยครึ่งหนึ่งและอยู่บนบกครึ่งหนึ่ง บริเวณภูเขามีถ้ำอยู่เป็นจำนวนมาก ด้านทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศใต้เป็นชายหาด มีอ่าวเป็นหาดทรายขาว

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
มีพันธุ์ไม้นานาชนิดที่พบได้แก่ ไทร ข่อย จันทน์ผา สลัดได และเสมา และยังมีสมุนไพรหลายชนิดได้แก่ จันทร์แดง มะเกลือ มะคำไก่ โคคลาน กำลังวัวเถลิง เป็นต้น
บ้านพัก-บริการ

วนอุทยานท้าวโกษาไม่มีบ้านพักหรือค่ายพักแรมบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะไปพักแรมค้างคืนและพักผ่อนหย่อนใจ หรือศึกษาหาความรู้ทางธรรมชาติ โปรดนำเต็นท์และเตรียมอาหารไปเอง โดยทางวนอุทยานได้จัดสถานที่ไว้ให้พร้อมกับห้องสุขา ให้ไปติดต่อขออนุญาตใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่ที่วนอุทยานท้าวโกษาโดยตรง
แหล่งท่องเที่ยว
วนอุทยานท้าวโกษาเป็นภูเขาที่ตั้งอยู่ในทะเลครึ่งหนึ่งและอยู่บนเขาครึ่ง หนึ่ง มีหาดทรายสวยงามอยู่ทางด้านทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศใต้ บริเวณโดยรอบมีโขดหินปูนโผล่บริเวณชายหาดและบริเวณภูเขามีถ้ำจำนวนมากซึ่ง ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก
การเดินทาง
รถยนต์ เดินทางจากกรุงเทพฯโดยถนนเพชรเกษมถึงสี่แยกปราณบุรี อำเภอปราณบุรี เลี้ยวซ้ายมือเข้าปากน้ำปราณ ระยะทาง 10 กิโลเมตร ถึงป้อมตำรวจปากน้ำปราณแล้วตรงไปประมาณ 1 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวามือผ่านหมู่บ้านหนองเสือและปรือน้อย ระยะทางอีก 5 กิโลเมตร ก็จะถึงวนอุทยานท้าวโกษา
สถานที่ติดต่อ
วนอุทยานท้าวโกษา สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (เพชรบุรี) ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

0 ความคิดเห็น: