02:20

จังหวัดสมุทรปราการ

" ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ
สงกรานต์พระประแดง ปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม "
ข้อมูลทั่วไป :

จังหวัดสมุทรปราการตั้งอยู่ปลายสุดของแม่น้ำเจ้าพระยาและด้านเหนือของอ่าว ไทย นิยมเรียกว่าเมืองปากน้ำ ห่างจากกรุงเทพฯ 29 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้น 1,004 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม ไม่มีภูเขา มีลำคลองหลายสาย ในฤดูแล้งน้ำจะเค็มจัด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่นาและสวน มีป่าแสม ไม้ปลง โกงกาง ป่าจาก สินค้าที่ขึ้นชื่อคือ “ขนมจาก” และ “ปลาสลิด”

ประวัติความเป็นมา :

สมุทรปราการ เป็นเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตัวเมืองเก่าอยู่แถบอำเภอพระประแดงและมีชื่อเรียกว่า “เมืองพระประแดง” เป็นสถานที่พักของเมืองสินค้าต่างชาติที่มาติดต่อค้าขายกับไทย ที่บริเวณริมทะเลมีการสร้างป้อมค่ายคูเมืองอย่างมั่นคงแข็งแรง ต่อมา ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงโปรดให้รื้อกำแพงเมืองพระประแดงออก จวบจนสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ทรงเห็นว่าจะเป็นช่องทางที่ข้าศึกจะยกทัพมาได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองสมุทรปราการขึ้นที่ตำบลปากน้ำในปี พ.ศ. 2362 โดยใช้เวลาสร้าง 3 ปี และได้จัดสร้างป้อมปราการขึ้นทั้งสองฝั่งแม่น้ำถึง 6 ป้อม คือ ป้อมประโคนชัย ป้อมนารายณ์ปราบศึก ป้อมปราการ ป้อมประกายสิทธิ์ ป้อมนาคราช และป้อมผีเสื้อสมุทร ในขณะที่สร้างเมืองนั้น รัชกาลที่ 2 ได้เสด็จทอดพระเนตรหลายครั้งและทรงสร้างพระมหาเจดีย์ ขึ้นที่เกาะกลางน้ำแล้วพระราชทานนามว่า “พระสมุทรเจดีย์” การสร้างยังมิทันเสร็จได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมา ในรัชกาลที่ 3 ได้ทรงสร้างต่อจนสำเร็จและสร้างป้อมขึ้นอีก 3 แห่ง คือ ป้อมตรีเพชร ป้อมคงกระพัน และป้อมเสือซ่อนเล็บ

ในปี พ.ศ. 2402 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ทรงปฏิสังขรณ์พระสมุทรเจดีย์ให้สูงขึ้นและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมชายทะเลอีกแห่งหนึ่ง พระราชทานนามว่า “ป้อมพระจุลจอมเกล้า” ซึ่งในปัจจุบันป้อมต่างๆ ได้ปรักหักพังลงคงเหลือแต่ป้อมผีเสื้อสมุทรและป้อมพระจุลจอมเกล้าเท่านั้น

อาณาเขตและการปกครอง :

ทิศเหนือ ติดต่อกรุงเทพมหานคร
ทิศใต้ ติดต่ออ่าวไทย
ทิศตะวันออก ติดต่อจังหวัดฉะเชิงเทรา
ทิศตะวันตก ติดต่อกรุงเทพมหานคร

จังหวัดสมุทรปราการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง อำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และอำเภอบางเสาธง

การเดินทาง :

ทางรถยนต์

สามารถใช้เส้นทางถนนสุขุมวิท (สายเก่า) และทางหลวงหมายเลข 303 (ถนนสุขสวัสดิ์) ระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร เข้าสู่ตัวเมืองจังหวัดสมุทรปราการ สอบถามเพิ่มเติมที่ 1543

ทางรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ (ขสมก.)

ปอ.สาย 2 (สำโรง-ปากคลองตลาด) ปอ.25 (ท่าช้าง- แพรกษา) ปอ.506 (ปากเกร็ด-พระประแดง) ปอ.507 (ปากน้ำ-ขนส่งสายใต้) ปอ.508 (ปากน้ำ-ท่าราชวรดิษฐ์) ปอ.511 (ปากน้ำ-ขนส่งสายใต้) ปอ.513 (รังสิต-ปู่เจ้าสมิงพราย) ปอ.23 (สำโรง-ทางด่วน-เทเวศน์) ปอ.25 (ปากน้ำ-ท่าช้าง) ปอ.102 (ปากน้ำ-ช่องนนทรี) ปอ.545 (นนทบุรี-สำโรง) ปอ.129 (สำโรง-บางเขน) ปอ.142 (ฟาร์มจระเข้-การเคหะชุมชนธนบุรี) ปอ.145 (ปากน้ำ-หมอชิต 2) ปอ.536 (ฟาร์มจระเข้-หมอชิต 2) ปอ.521 (พระประแดง-ท่าน้ำนนท์) ปอ.20 (ป้อมพระจุลฯ-ท่าน้ำดินแดง) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 184

ทางรถโดยสารประจำทางธรรมดา

สาย 2 (สำโรง-ปากคลองตลาด) สาย 6 (พระประแดง-บางลำภู) สาย 20 (ป้อมพระจุลฯ-ท่าน้ำดินแดง) สาย 23 (สำโรง-ทางด่วน-เทเวศร์) สาย 25 (ปากน้ำ-ท่าช้าง) สาย 45 (สำโรง-ราชประสงค์) สาย 82 (พระประแดง-บางลำภู) สาย 102 (ปากน้ำ-ช่องนนทรี) สาย 116 (สำโรง-สาทร) สาย 129 (บางเขน-สำโรง) สาย 138 (ทางด่วน จตุจักร-พระประแดง) สาย 145 (สวนจตุจักร-ปากน้ำ) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 184

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.สมุทรปราการ

อำเภอเมือง - กิโลเมตร
อำเภอพระประแดง 12 กิโลเมตร
อำเภอบางพลี 17 กิโลเมตร
อำเภอพระสมุทรเจดีย์ 21 กิโลเมตร
อำเภอบางเสาธง 32 กิโลเมตร
อำเภอบางบ่อ 38 กิโลเมตร

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ : สถานีตำรวจภูธร อำเภอเมือง โทร. 0 2389 5542-7, 0 2389 5538
สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ โทร. 0 2702 5021-4
โรงพยาบาลสมุทรปราการ โทร. 0 2701 8132-39, 0 2389 0289-96
โรงพยาบาลเมืองสมุทร โทร. 0 2387 0027-30
โรงพยาบาลพระประแดง โทร. 0 2464 3002-3, 0 2463 3840
ศูนย์การท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการ จังหวัดสมุทรปราการ โทร. 0 2384 5118, 0 2380 5180
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155

0 ความคิดเห็น: