02:25

จังหวัดกาญจนบุรี

" แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่น้ำตก "

กาญจนบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางที่มีผู้คนนิยม เดินทางไปท่องเที่ยว เต็มไปด้วยเรื่องราวในอดีตที่น่าสนใจ เป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสถานที่ตั้งของสะพานข้ามแม่น้ำแควซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ของไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็น ป่าเขาลำเนาไพร ถ้ำหรือน้ำตก

กาญจนบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 129 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่ามีทั้งป่าโปร่งและป่าดงดิบ มีแม่น้ำสำคัญสองสายคือ แม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อยซึ่งไหลมาบรรจบรวมกันเป็นแม่น้ำแม่กลองที่ บริเวณอำเภอเมืองกาญจนบุรี กาญจนบุรีแบ่งการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอบ่อพลอย อำเภอเลาขวัญ อำเภอพนมทวน อำเภอไทรโยค อำเภอสังขละบุรี อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอท่ามะกา อำเภอท่าม่วง อำเภอทองผาภูมิ อำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอหนองปรือ และอำเภอห้วยกระเจา

ประวัติและความเป็นมา :

พื้นที่กว้างใหญ่ ซึ่งเป็นที่ตั้ง จ.กาญจนบุรี ในปัจจุบัน มีประวัติความเป็นมา ที่ต่อเนื่อง และยาวนาน ประวัติ หน้าสุดท้ายของกาญจนบุรี ย้อนกลับไปเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์หน้าแรก ได้อย่างบังเอิญ เมื่อเชลยศึก ที่ถูกเกณฑ์ มาสร้างทางรถไฟคนหนึ่ง ค้นพบเครื่องมือหิน ของมนุษย์ ก่อนประวัติศาสตร์ ระหว่างการก่อสร้างทางรถไฟ บริเวณ สถานีบ้านเก่า ต.จระเข้เผือก อ.เมือง ทำให้เกิดการขุดค้นทางโบราณคดี และสามารถ ค้นพบหลักฐานของ มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์จำนวนมาก แม้จนถึงปัจจุบันยังขุดพบอยู่

ในสมัยทวารวดี ซึ่งอยู่ในสมัยประวัติศาสตร์ ของ ประเทศไทย พบซาก โบราณสถาน และ โบราณวัตถุ ที่ ต.ปรังเผล อ.สังขละบุรี (ปัจจุบัน เป็นพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนเขาแหลม ) ซึ่งเป็นเจดีย์ ลักษณะเดียวกับ จุลประโทณเจดีย์ จ.นครปฐม เจดีย์ ที่บ้านคูบัว จ.ราชบุรี และที่เมืองอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี นอกจากนี้ ยังพบฐาน เจดีย์ และ พระพิมพ์ สมัยทวารดี จำนวนมาก ที่ บ้านท่าหวี ริมแม่น้ำแควใหญ่ ต.ลาดหญ้า อ.เมือง อีกด้วย แสดงว่าในสมัยนั้น พื้นที่ ริมแม่น้ำหลายแห่ง ซึ่งเป็นเส้นทาง คมนาคม สำคัญ มีชุมชน หรือ เมืองโบราณ ซึ่ง มีความสัมพันธ์ กับชุมชน โบราณ ใกล้เคียงกัน

ในสมัย พุทธศตวรรษ ที่ 16-18 ขอม ได้แผ่อิทธิพล เข้ามาใน ประเทศไทย ซึ่งพบหลักฐานสำคัญ คือ ปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งมีลักษณะเป็น ศิลปะขอม สมัยบายน มีอายุในช่วงสมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในพุทธศตวรรษที่ 18 นอกจากนี้ ยังพบหลักฐานที่เป็นศิลปะขอม สมัยเดียวกัน ที่เมืองครุฑ และ เมืองกลอนโด อ.ไทรโยค

ในสมัย สุโขทัย พบหลักฐาน ในพงศาวดารเหนือ ว่า กาญจนบุรี ตกเป็นเมืองขึ้น ของ สุพรรณบุรี ตามที่กล่าวว่า พญากง ได้มาครอง เมือง กาญจนบุรี แต่ก็ไม่มีหลักฐานอื่น มาสนับสนุน ต่อมา ในสมัย อยุธยา กาญจนบุรี มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญ โดยตัวเมือง ตั้งอยู่ ที่บ้านท่าเสา ต.ลาดหญ้า ใกล้เขาชนไก่ และ ยังปรากฏ หลักฐาน เป็นซากโบราณสถาน และ โบราณวัตถุ ดังที่เห็นในปัจจุบัน

กาญจนบุรี ยังคงเป็นเมืองหน้าด่าน สืบเนื่องมาจนถึง สมัยกรุงธนบุรี และ รัตนโกสินทร์ โดย ในสมัยรัชกาลที่ 1 พระองค์ โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมือง กาญจนบุรี มาตั้งใหม่ ที่บ้าน ปากแพรก เพื่อมาตั้งรับทัพ พม่า ที่เดินทัพ ลงมาตามลำน้ำแม่กลอง เพื่อเข้าตี กรุงเทพฯ ได้มีการสร้างกำแพงล้อมรอบเมือง อย่างมั่นคง ใน สมัยรัชกาลที่ 3 และให้มีเจ้าเมือง คือ พระประสิทธิสงคราม นอกจากนั้น ยังตั้งหัวเมืองเล็กๆ ตามรายทาง เป็นหน้าด่านอีกเจ็ดแห่ง

สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการจัดรูปแบบการปกครองประเทศใหม่ เป็นมณฑลเทศาภิบาล เมือง กาญจนบุรี ถูกโอนมาขึ้นกับมณฑล ราชบุรี และ แบ่งการปกครองเป็นสามอำเภอ คือ อ.เมือง อ.เหนือ (ปัจจุบันคือ อ.ท่าม่วง) และ อ.ใต้ (ปัจจุบัน คือ อ.พนมทวน) และต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2467 ได้ตั้งอำเภอเพิ่มอีกสองแห่ง คือ อ.ท่ามะกา และ อ.ทองผาภูมิ กับ กิ่ง อ.สังขละบุรี

ในช่วงสงคราม มหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่น ตัดสินใจสร้างทางรถไฟ สาย ไทย - พม่า เชื่อมจากสถานีหนองปลาดุก จ.ราชบุรี ผ่าน กาญจนบุรี เลาะริมแม่น้ำแควน้อย ไปเชื่อมกับ ทางรถไฟ ที่สร้างมาจาก พม่า ที่ด่านเจดีย์สามองค์ เป็นทางรถไฟ ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก และมีผู้คนจำนวนมาก เดินทางมาเยี่ยมชม เพื่อคาราวะ ต่อดวงวิญญาณ ผู้เสียชีวิต และรำลึก ถึงความโหดร้าย ทารุณ ของ สงคราม

อาณาเขต : ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดตากและสหภาพเมียนม่าร์
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดราชบุรีและจังหวัดนครปฐม
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสุพรรณบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับสหภาพเมียนม่าร์

ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอเมือง -- กิโลเมตร
อำเภอท่าม่วง 12 กิโลเมตร
อำเภอพนมทวน 24 กิโลเมตร
อำเภอท่ามะกา 30 กิโลเมตร
อำเภอด่านมะขามเตี้ย 30 กิโลเมตร
อำเภอบ่อพลอย 40 กิโลเมตร
อำเภอไทรโยค 50 กิโลเมตร
อำเภอห้วยกระเจา 64 กิโลเมตร
อำเภอหนองปรือ 75 กิโลเมตร
อำเภอเลาขวัญ 98 กิโลเมตร
อำเภอศรีสวัสดิ์ 102 กิโลเมตร
อำเภอทองผาภูมิ 145 กิโลเมตร
อำเภอสังขละบุรี 230 กิโลเมตร

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 034)

งานข่าวสารการท่องเที่ยว ททท.

02-694-1222 ต่อ 8 , 02-282-9773

ททท.ภาคกลาง เขต 1 (กาญจนบุรี)

034-511-200 , 034-512-500

ประชาสัมพันธ์จังหวัด

034-512-410 , 034-514-756

ตำรวจท่องเที่ยว

034-512-795

สภ.อ.เมืองกาญจนบุรี

034-621-040-2

สภ.อ.ด่านมะขามเตี้ย

034-642-098

สภ.ต.ด่านแม่แฉลบ

034-597-067

สภ.อ.ทองผาภูมิ

034-599-120 , 034-599-113

สภ.อ.ท่าม่วง

034-611-888 , 611-020

สภ.อ.ท่ามะกา

034-541-040 , 034-640-579

สภ.ต.ท่าเรือ

034-561-030

สภ.อ.ไทรโยค

034-591-030 , 034-591-026

สภ.อ.บ่อพลอย

034-581-244

สภ.อ.พนมทวน

034-579-053 , 034-579-303-4

สภ.ต.ลาดหญ้า

034-589-244

สภ.ต.ลูกแก

034-566-068

สภ.อ.เลาขวัญ

034-576-119 , 034-576-331

สภ.อ.ศรีสวัสดิ์

034-574-220

สภ.อ.สังขละบุรี

034-595-300

สภ.ต.หนองขาว

034-586-113

สภ.อ.หนองปรือ

034-645-234

สภ.อ.ห้วยกระเจา

034-650-042

รพ.กาญจนบุรีเมมโมเรียล

034-624-189-93

รพ.ชนะกาญจน์

034-622-366

รพ.พหลพลพยุหเสนา

034-511-233 , 034-622-999

รพ.แสงชูโต

034-621-127

รพ.เจ้าคุณไพบูลย์พนมทวน

034-630-409

รพ.ด่านมะขามเตี้ย

034-642-102-3

รพ.ท่ากระดาน

034-516-535

รพ.ท่าม่วง

034-611-033 , 034-626-268-9

รพ.ท่าเรือ

034-561-084 , 034-561-335

รพ.ไทรโยค

034-591-034

รพ.บ่อพลอย

034-581-139 , 034-581-160

รพ.พระบารมี

034-645-234

รพ.มะการักษ์

034-542-031 , 034-542-035

รพ.เลาขวัญ

034-576-050

รพ.สังขละบุรี

034-595-058

สำนักงานเทศบาลเมืองกาญจนบุรี

034-511-502-2

ที่ว่าการอำเภอเมืองกาญจนบุรี

034-511-040 , 034-622-952

บริษัท ขนส่ง จำกัด

034-511-387

สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี

034-511-182

สถานีรถไฟกาญจนบุรี

034-511-285

0 ความคิดเห็น: